วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมจีน

ตรุษจีน คือ วันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน
    
       สมัยโบราณในยุคราชวงศ์ต่างๆ นับช่วงพ้นปีเก่าเข้าปีใหม่แตกต่างกันไป กระทั่งปี 105 B.C. ฮั่นอู่ตี้ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นปรับเปลี่ยนระบบปฏิทินใหม่ให้ เป็นมาตรฐานเดียวกัน เรียกว่า ปฏิทินไท่ชูลี่
    
       ปฏิทินไท่ชูลี่ ปรับปรุงขึ้นจากระบบปฏิทินของราชวงศ์เซี่ย (21-16 ศตวรรษ B.C.) ถือเอาวันแรกของ ปักษ์ลี่ชุน
立春 เป็นวันขึ้นปีใหม่  ชาวจีนจึงนับเอาวันนี้เป็นวันขึ้นปี ใหม่มา 2010 ปีแล้ว
    
       วันตรุษจีนหรือปีใหม่นี้ จีนโบราณเรียกว่า
过年 กั้วเหนียน ผ่านปีหรือ 元旦หยวนตั้น ขึ้นปีใหม่
    
       เทศกาล ตรุษปีใหม่หรือตรุษวสันต์นี้ เดิมเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ นักวิชาการเริ่มวิเคราะห์จากคำว่า เหนียน
ซึ่งปัจจุบันแปลว่า ปี
    
       เทศกาลตรุษจีน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กั้ว เหนียน
过年
    
       ในสมัยโบราณ (ก่อนราชวงศ์โจว) เหนียน หมายถึง รอบการเจริญเติบโตของธัญพืชรอบหนึ่ง ธัญพืชสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว และ/หรือหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของการเพาะปลูก ดังนั้น คำว่า กั้วเหนียนเดิมทีมิได้หมายถึงการสิ้น ปีเก่าขึ้นปีใหม่ แต่หมายความว่า ในปีนั้นๆ เก็บเกี่ยวได้อุดมสมบูรณ์
    
       โดยทั่วไปแล้ว การเพาะปลูกในตงง้วนจะเก็บเกี่ยวกันตอนปลายฤดูใบไม้ร่วง ส่วนฤดูหนาวคือช่วงระยะล่าสัตว์ เมื่อเราย้อนกลับไปดูการกำหนดเดือนอ้ายขึ้นปีใหม่ในปฏิทินโบราณทั้ง 4 ระบบ จะเห็นว่าก๊กเซี่ย ขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนมกราคม ก๊กซางขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนธันวาคม ก๊กโจวขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนพฤศจิกายน ก๊กฉินขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนตุลาคม ที่ต่างกันดังนี้ อาจเนื่องมากจากความแตกต่างของฤดูกาล

เทศกาลปีใหม่มีขึ้นอย่าง เป็นเอกภาพพร้อมเพรียงกัน หลังจากจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ประกาศใช้ปฏิทินไท่ชูลี่ เมื่อค.ศ. 105 แล้ว ดังนั้น อาจกล่าวว่า เทศกาลปีใหม่จีนหรือตรุษจีนเริ่มกำหนดอย่างเป็นทางการในรัชสมัยฮั่นอู่ตี้
    
       ในส่วนคติชาวบ้านก็มีนิทานพื้นบ้านอธิบายว่าทำไมจึงเรียกเทศกาล ตรุษวสันต์ว่ากั้วเหนียน
过年 เช่นกัน ดังนี้
    
       ในรัชสมัยของ จู๋อี่ โอรสสวรรค์องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ซาง มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ ว่านเหนียน
万年เห็นว่าการประกาศปฏิทินกำหนดฤดูกาลของราชสำนักมีความผิดพลาดคลาด เคลื่อนไปจากสภาพภูมิอากาศที่เป็นจริง อันก่อผลเสียหายแก่การกสิกรรมและการปศุสัตว์มาก ว่านเหนียนจึงพากเพียรพยายามติดตามศึกษาดาราศาสตร์ ศึกษาเงาตะวันจากนาฬิกาแดด เป็นต้น จนกระทั่งทราบต้นตอที่มาของความผิดพลาด การคำนวณปฏิทินแบบเดิม
ขณะนั้นโอรสสวรรค์จู่อี่เอง ก็ทรงร้อนพระทัยห่วงใยที่การกำหนดฤดูกาลไม่แม่นยำ แต่ทว่าอาเหิง อำมาตย์ผู้ควบคุมการคำนวณฤดูกาลไม่ยอมรับว่าตนด้อยความรู้ความสามารถ กลับเสนอจู่อี่ว่า การที่ฤดูกาลไม่ตรงกับที่ได้คำนวณกำหนดไว้นั้น เนื่องมาจากพลเมืองกระทำมิดีผิดผีลบลู่เทพยดาฟ้าดิน  โอรส สวรรค์จักต้องก่อสร้างหอมหึมาแล้วนำอำมาตย์ทั้งมวลขึ้นไปบวงสรวงเทพยดาฟ้า ดินพร้อมกัน
    
       จู๋อี่ ทรงเชื่อตามที่อาเหิงเสนอ จึงทรงสั่งให้เก็บส่วยจากพลเมืองในแคว้น เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบวงสรวงฟ้าดิน
    
       ฝ่ายว่านเหนียนเห็นว่าการทำเช่นนี้ มิอาจแก้ปัญหาอันใดได้เลย รังแต่จะเพิ่มความทุกข์ยากลำบากต่อราษฎรเป็นทวีคูณ ว่านเหนียนจึงขอเข้าเฝ้าจู๋อี่ แล้วอธิบายสาเหตุที่การคำนวณปฏิทินแบบเก่าผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้จู๋อี่ฟัง
    
       จู๋อี่ทรงยอมรับหลักการของว่านเหนียน จึงระงับพิธีบวงสรวงนั่นเสีย แล้วสร้างหอดาราศาสตร์ให้ว่านเหนียนใช้ทำงานค้นคว้า
อาเหิงแทนที่จะดีใจที่วิทยาการจะก้าวหน้าขึ้น แกกลับอิจฉาริษยาว่านเหนียน เกรงว่าหากว่านเหนียนปรับปรุงปฏิทินสำเร็จ ตนจะถูกปลดออกจากตำแหน่งขุนนาง อาเหิงจึงว่าจ้างมือสังหารไปฆ่าว่านเหนียน
    
       แต่เนื่องจากว่านเหนียน ทำงานในหอดาราศาสตร์ทั้งกลางวันกลางคืน ภายนอกหอก็มีทหารพิทักษ์รักษาเวรยาม มือสังหารจึงหาโอกาสฆ่าว่านเหนียนไม่ได้สักที กาลผ่านไปเนิ่นนาน มือสังหารจึงตัดสินใจใช้ธนูลอบยิง ว่านเหนียนถูกธนูที่แขน แต่คนร้ายเองที่ถูกจับนำไปสอบสวนต่อหน้าจู๋อี่ เมื่อความลับเปิดเผยขึ้น อาเหิงจึงถูกประหาร
    
       ในคืนวัน นั้นจู๋อี่ก็เสด็จไปเยี่ยมว่านเหนียนที่หอดาราศาสตร์ เมื่อไปถึงว่านเหนียนได้พูดว่า ขณะนี้เป็นเวลา เที่ยงคืนพอดี ปีเก่ากำลังผ่านพ้น วสันตฤดูกำลังเริ่มต้น ขอพระองค์จงทรงตั้งชื่อวันนี้ไว้เป็นที่ระลึกเถิด
    
       จู๋อี่ จึงทรงตั้งชื่อวันนั้นว่า ตรุษวสันต์
春节 แล้วทรงชวน ว่านเหนียนไปพักรักษาตัวในราชวัง แต่ว่านเหนียนยืนหยัดที่จะทำงานในหอดาราศาสตร์ต่อไป
    
       กาลเวลาผ่านไปอีกสามปี ว่านเหนียนจึงปฏิรูประบบปฏิทินเสร็จสมบูรณ์ แต่ทว่าบัดนี้ ว่านเหนียนผู้แต่เดิมยังเป็นหนุ่มฉกรรจ์ได้เปลี่ยนเป็นชายชราผมขาวโพลน โอรสสวรรค์จู๋อี่ทรงประทับพระทัยในอุตสาหะวิริยะของว่านเหนียน จึงทรงตั้งชื่อปฏิทินใหม่นั้นว่า ปฏิทินว่านเหนียน” (ว่านเหนียนลี่) และทรงแต่งตั้งให้ว่านเหนียนเป็นเทพแห่งอายุวัฒนะ
    
       นี่เองคือต้นตอที่ชาวบ้านจีนเรียกตรุษวสันต์ว่ากั้วเหนียนและในเทศกาลนี้ชาวบ้านก็มัก นิยมแขวนภาพ เทพแห่งอายุวัฒนะ” (โส้วซิง) เพื่อรำลึกถึงคุณูปการความดีงามและคุณธรรมของ ว่านเหนียนนั่นเอง

เทศกาล โคมไฟ (หยวนเซียวเจี๋ย)

วันเทศกาลนี้ตามปฏิทินจันทรคติคือ วันที่ 15 หลังจากวันตรุษจีน วันนี้เป็นวันประเพณีที่ชาวจีนเล่นโคมไฟ จึงเรียกว่าเทศกาลโคมไฟ
วันเทศกาลโคมไฟไม่เป็นวันหยุดราชการ แต่ประชาชนก็ให้ความสนใจที่จะฉลอง เทศกาลนี้ โดยเฉพาะในชนบทจะอึกทึกเป็นพิเศษ ประชาชนนอกจากจะได้ดูการแสดง และการละเล่นหลายชนิดแล้วยังมีรายการฉองโคมไฟอีกมากมาย ที่ผู้คนดูกันมากที่สุดเห็นจะได้แก่ขบวนพาเหรดที่ที่มีการแต่งตัวด้วยอาภรณ์ แบบโบราณ ขณะเดินเคลื่อนที่ไปก็จะมีการแสดงประกอบตามไปด้วย ประเพณีนี้ซึ่งมีการฉลองทุกภาค ตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ ต่างมีการแสดงที่สำคัญคือการเชิดมังกร และสิงโต
ในการฉลองเทศกาลนี้จะเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องซึ่งอยู่***งกันได้ กลับมาพบกัน ชาวภาคใต้มีประเพณีนำ หยวนเซียว ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกกลมสีขาวมีไส้ ต้มในน้ำขิง ( เหมือนบัวลอยน้ำขิง) ของกินนี้ออกเสียงเรียกกันว่า ถวนหยวน ซึ่งแปลว่า คืนสู่เหย้า ถือว่าเป็นโอกาสแห่งความเป็นสิริมงคล

เทศกาล ขนมบ๊ะจ่าง (ตวน อู่ เจี๋ย)

ตรงกับวันที่ 5 ของเดือน 5 ตามปฏิทินจีน บางครั้งจึงเรียกว่างานเทศกาลเดือน 5 เป็นวันที่ระลึกถึง ชวี หยวน นักกวีผู้มีชื่อเสียงของจีน ทำให้วันนี้มีผู้คนเรียกว่าเทศกาลกวี ด้วย
ท่าน ชวี หยวน เป็นคนประเทศฉู่ เมื่อ 2 พันปีก่อน ท่านทำงานอยู่ข้างกายฮ่องเต้ฉู่ แม้ว่าท่านได้ทำงานเพื่อประเทศฉู่ ด้วยความจงรักภักดีอย่างมาก แต่มิได้รับความเชื่อถือ ท่านจึงถอนตัวออกจากฮ่องเต้ กลับสู่บ้านเกิดในชนบท ท่านมีความจงรักภักดีต่อประเทศของท่านเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ข่าวว่าประเทศฉู่ ถูกข้าศึกเข้ายึดครองเป็นเมืองขึ้น เกิดเสียใจอย่างรุนแรง ถึงกับกระโดดน้ำฆ่าตัวตายในวันที่ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5
ผู้คนร่วมหมู่บ้านของท่านมีความรักต่อท่านอย่างแท้จริง ต่างพากันพายเรือออกไป ตามหาอยู่หลายวัน แต่หาไม่พบ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ปลาในน้ำทำอันตรายต่อท่านชวีหยวน ชาวบ้านจึงพากันโยนบ๊ะจ่างลงในน้ำให้ปลากินแทน ต่อมาทุกๆ ปี ในวันที่ 5 เดือน 5 ผู้คนจะพายเรือออกไปโยนบ๊ะจ่าง ลงในน้ำเป็นประจำ แต่ประเพณีได้กลายมาเป็นการรับประทานบ๊ะจ่าง และเพิ่มเติมประเพณีการแข่งเรือมังกรเข้ามาด้วย
เรือมังกรคือเรือที่ประดับ โขนเรือเป็นหัวมังกรซึ่งถูกนำมาพายแข่งขันกันในบรรยากาศ ที่สนุกสนาน มิใช่แต่ชาวจีนเท่านั้นที่ชอบการแข่งเรือมังกร นานาประเทศทั่วโลกต่างก็ชื่นชม ในประเทศจีนมีการแข่งขันเรือมังกรระดับนานาชาติหลายเมือง เช่นที่หูหนาน และฮ่องกง เป็นต้น


เทศ กาลวันเช็งเม็ง

วันเช็งเม๊งเป็น 1 ของ 24 ฤดูกาลตามจันทรคติของจีน ส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาต้นเดือนเมษายนตามปฏิทินสมัยปัจจุบัน พอถึงวันนี้ ผู้คนจะเดินทางไปชานเมือง เพื่อกราบไหว้รรพบุรุษ เดินเที่ยวชมวิว และเก็บกิ่งหลิวกลับมาเสียบประตูบ้าน

ในท้องที่บางแห่งของจีนเรียกวันเช็งเม็งว่าเป็นเทศกาลผี จะเห็นได้ว่านี่เป็นวันเส้นไหว้บรรพบุรุษ เวลาก่อนและหลังวันเช็งเม็ง ทุกครอบครัวจะไปไหว้หลุมบรรพบุรุษ ตัดทิ้งญ้ารกที่ขึ้นตามหลุมศพ เพิ่มดินใหม่บนหลุม แล้วจุดธูปเทียน เผากระดาษเงินกระดาษทองกราบไหว้แสดงความไว้อาลัย มีกลอนโบราณยุคซ้องได้บรรยายถึงสภาพของประเพณีไหว้หลุมศพว่า สุสานบนเขาเหนือใต้ ผู้คนกราบไหว้วันเช็งเม็ง กระดาษเงินทองปลิวว่อนคลั่งผีเสื้อ เลือดและน้ำตาหลั่งชะโลมดอกตู้เจียนให้แดงสะพรั่ง

เล่ากันว่าวันเชงเม๊งเริ่มขึ้นในสมัยราชวงค์ฮั่น (ก่อนค.ศ.206 – ค.ศ 220) จนถึงสมัยราชวงค์หมิงและสมัยราชวงค์ชิง พิธีไหว้หลุมบรรพบุรุษพัฒนาถึงขั้นสูงสุด บางคนมิเพียงแต่เผากระดาษเงินกระดาษทองที่หน้าสุสานแล้ว ยังทำกับข้าว 10 อย่างไปวางไว้หน้าสุสานด้วย

การไหว้่สุสานบรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม็งเป็นประเพณีสำคัญของจีน และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ว่าพิธีไหว้จะเรียบง่ายกว่าสมัยก่อน มีรูปแบบทั้งการไหว้ของแต่ละครอบครัว และการไหว้ที่จัดโดยองค์กรและหมู่คณะต่าง ๆ  โดยผู้คนจะพากันไปไหว้สุสานของวีรบุรุษที่สละชีพเพื่อชาติ โดยวางดอกไม้สดหรือต้นสนต้นเล็กเพื่อแสดงความไว้อาลัย

วันเช็งเม็งอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของจีน แม้ว่างานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการไหว้บรรพบุรุษเป็นหลักก็ตาม แต่ในระหว่างประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น ผู้็้คนยังถือโอกาสนี้เป็นการออกนอกบ้านท่องเที่ยวตามชานเมือง ชมต้นไม้สีเขียวที่ไม่ได้เห็นในฤดูหนาวเป็นเวลาหลายเดือน ท้องที่บางแห่งของจีนจึงเรียกเทศกาลเช็งเม็งว่าเป็นเทศกาลวันเหยียบสีเขียว

ในสมัยโบราณยังมีประเพณีที่เดินเที่ยวชมสีเขียวตามชานเมืองและ เด็ดดอกไม้ของผักสดชนิดหนึ่งชื่อว่า ฉีไช่ แต่ประเพณีนี้ยากที่จะเห็นได้ในสมัยปัจจุบัน คือก่อนและหลังวันเช็งเม็ง ผู้หญิงหรือสาว ๆ มักจะออกจากบ้านไปเที่ยวตามชานเมืองและเด็ดผักป่าสด ๆ กลับมาบ้าน ทำเป็นใส้เกี๊ยวน้ำ รสชาติอร่อยมาก ผู้หญิงบางคนยังเอาดอกสีขาวของผักฉีทำเป็นปิ่นผม ช่วงเทศกาลเช้งเม็ง ชาวจีนยังนิยมการเล่นวาก เล่นชักคะเย่อและเล่นชิงช้าเป็นต้น

ทำไมวันเช้งเม็งใช้คำว่าเช็งเม็ง ตามภาษาจีนกลาง เช็งเม็งหมายความว่าสดชื่น สว่างและแจ่มใส ก็เพราะว่าช่วงนี้เป็นต้นฤดูใบไม้ผลิ ท้องฟ้าแจ่มใสอากาศสดชื่น ญ้ากำลังขึ้นเขียว ป่าไม้เริ่มผลิดอกออกใบ  เป็น ช่วงเวลาเริ่มทำไร่ไถน่า ในสำนวนการเกษตรของจีนมีการบรรยายถึงเทศกาลเช็งเม็งกับการเกษตร เช่น ชิงหมิงเฉียนโฮ่ว จ้งกวาจ้งโต้ว ความหมายคือก่อนและหลังช่วงเวลาเช็งเม็ง เป็นเวลาเหมาะสมที่จะปลูกแตงปลูกถั่ว และยังมีสำนวนกล่าววว่า การปลูกต้นไม้ต้นใหม่ต้องไม่เกินเทศกาลเช็งเม็ง ช่วงเวลาก่อนเช็งเม็งพืชอะไรก็ปลูกขึ้นได้ดีหมด

ในเทศกาลเช็งเม็งยังมีกิจกรรมปลูกต้นไม้ มีกลอนโบราณจีนที่บรรยายทิวทัศน์ว่า ต้นหลิวทั่วเมืองออกใบสีเขียวอ่อนเหมือนหมอกสีเขียวเต็มท้องฟ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของช่วงเทศกาลเช็งเม็ง

วัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่งที่น่าศึกษาครับ
การวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน มีการพัฒนาของการเขียน กล่าวโดยรวมอักษรจีนได้ผ่านการปฎิรูป 7 ครั้ง ดังนี้
1. อักษรเจี๋ยกู่เห วิน เป็นอักษรที่แกะสลักไว้บนกระดองเต่า และกระดูกสัตว์ อยู่ในสมัยราชวงศ์เซี่ยและซาง




                2. อักษรโลหะ เป็นอักษรจีนที่หลอมบนเครื่องใช้โลหะ อยู่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก





3. อักษรจ้วนซู เป็นอักษรจีนที่เน้นความสวยงาม แต่ยุ่งยากในการเขียน อยู่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์จิ๋น และราชวงศ์ฮั่น

4. อักษรลี่ซู เป็นอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรจ้วนซู อยู่ในสมัยราชวงศ์ฉิน และสมัยราชวงศ์ฮั่น



5. อักษรเฉ่าซู (ตัวหวัด) เป็นอักษรจีนที่อ่านเข้าใจยาก อยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้น และสมัยหนันเป่ยเฉา

6. อักษร สิงซู เป็นอักษรจีนที่สวยงาม เขียนง่าย และอ่านเข้าใจง่าย อยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้น และสมัยหนันเป่ยเฉา
7. อักษรไข่ซู เป็นอักษรจีนที่บรรจงที่สุด อยู่ในสมัยราชวงศ์ซุย และสมัยราชวงศ์ถัง จนถึงปัจจุบันครับ

สารทจีน : เทศกาลสำคัญที่กำลังลบเลือน

      สารทจีน เป็นเทศกาลสำคัญทั้งของลัทธิขงจื๊อ พุทธศาสนา ศาสนาเต๋า และชาวบ้าน ในอดีตเป็นเทศกาลใหญ่มาก แต่ปัจจุบันลดความสำคัญลง นอกจากในวัดพุทธและวัดเต๋าแล้ว แพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวบ้านจีนภาคใต้ ตั้งแต่มณฑลหูเป่ย อานฮุย เจ้อเจียง ลงมาจนถึงกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ในหมู่ชาวจีนแคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และไหหลำ ยังคงเป็นเทศกาลใหญ่ เป็น ๑ ใน ๘ เทศกาลสำคัญประจำปีของจีนแต้จิ๋ว ในไทยสารทจีนเป็นเทศกาลจีนสำคัญอันดับ ๒ รองจากตรุษจีนเท่านั้น
      เทศกาลนี้มีชื่อเป็นทางการว่า "จงหยวนเจี๋ย"  แต้จิ๋วว่า "ตงหง่วงโจ็ย" แต่ชื่อทั่วไปนิยมเรียกว่า  แต้จิ๋วอ่านว่า "ชิกว็วยะปั่ว" แปลว่า "(เทศกาล) กลางเดือน ๗" นอกจากนี้ยังมีชื่อที่นิยมเรียกกัน อีกชื่อหนึ่งว่า "กุ่ยเจี๋ย ( กุ๋ยโจ็ย)" แปลว่า "เทศกาลผี" ชื่อทั้งสามนี้ถ้าคุยกับคนจีนภาคใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ทุกคนจะรู้จักดี แต่คนปักกิ่งจะไม่รู้จักเลย เพราะเทศกาลนี้ปัจจุบันชาวบ้านจีนภาคเหนือไม่ได้ทำแล้ว คงเหลือแต่ในวัดพุทธและเต๋าเท่า นั้น
      คำ "จงหยวน " ที่เป็นชื่อเทศกาลนี้เป็นคนละคำกับ "จงหยวน " ซึ่งหมายถึง "ดินแดนลุ่มแม่น้ำฮวงโหตอนกลางและตอนล่างอันเป็นศูนย์กลางอารยธรรม จีน" จงหยวนที่เป็นชื่อ เทศกาลได้มาจากชื่อเทพประจำเทศกาลนี้ของศาสนาเต๋า

      วันเทศกาลสารทจีนคือวันเทวสมภพของเทพจงหยวน จึงเรียกว่า "จงหยวนเจี๋ย (ตงหง่วงโจ็ย) แปลว่า เทศกาลเทพจงหยวน ตรงกับวันกลางเดือน ๗ จึงเรียกว่า "ชีเย่ว์ปั้น ( ชิกว็วยะปั่ว) หมายถึงเทศกาลกลางเดือน ๗ แต่เทศกาลนี้มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่อง ตั้งแต่ต้นจนถึงสิ้นเดือน ๗ คือวัน ๑ ค่ำ เป็นวัน "เปิดยมโลก" ให้ผีทั้งหลายออกมารับการเซ่นสังเวย วัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันไหว้ใหญ่ทั้งผีบรรพชนและผี ไม่มีญาติ วันสิ้นเดือน ๗ (๓๐ ค่ำ หรือแรม ๑๕ ค่ำ) เป็นวัน "ปิดประตูยมโลก" ผีทั้งที่ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิดต้องกลับเข้ายมโลก วันต้นเดือน สิ้นเดือน มีพิธีไหว้ด้วย และมีพิธีทิ้งกระจาดอุทิศส่วนกุศลให้เปตชนครั้งใหญ่ในช่วงครึ่ง หลังของเดือน ๗ อีกต่างหาก กิจกรรมทั้งหมดล้วนแต่เกี่ยวกับผี คนจีนจึงถือว่าเดือน ๗ เป็น "เดือนผี" และเทศกาลกลางเดือน ๗ คือ "เทศกาลผี" แต่ที่คนไทยเรียกสารทจีนเพราะ วันนี้ใกล้กับวันสารทไทย อีกทั้งอยู่ในช่วงต้นฤดูสารทหรือชิวเทียน ( Autumn) ของจีนอีกด้วย
        เทศกาลจงหยวนมีที่มาจากประเพณีจีนโบราณ คือวันอุลลัมพนบูชาของพุทธศาสนาและ ความเชื่อของศาสนาเต๋ารวมกันอย่างกลมกลืน วัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณเป็นที่มาของลัทธิขงจื๊อและคตินิยมพื้น ฐานของคนจีนตลอดมา ลัทธิขงจื๊อจึงเป็นศาสนาสำคัญที่สุดของจีนไปโดยปริยาย แต่ก็เข้ากันได้กับศาสนาพุทธและ ศาสนาเต๋าซึ่งเข้ามาแพร่หลายและเกิดขึ้นในภายหลัง จนในวิถีชีวิตคนจีนมีอิทธิพลของ ๓ ศาสนานี้อยู่คละเคล้ากันไป

ไหว้เทพจงหยวน

     เทพจง หยวนเป็นเทพประจำเทศกาลสารทจีน ชื่อเต็มว่า "จงหยวนต้าตี้-อธิบดีแห่งคืนเพ็ญกลาง" หรือ "ตี้กวนต้าตี้-ธรณิศมหาเสนาธิบดี" เรียกสั้นๆ ว่า "ตี้กวน-ธรณิศเสนา" มีหน้าที่ควบคุมดูแลเทพแห่งมหาบรรพตทั้งห้า (ของจีน) ภูเขาและแม่น้ำ เจ้าที่ประจำเมืองทุกเมือง เทพในเมืองที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับมนุษย์ ตรวจดูโชคเคราะห์ของสรรพสัตว์ ตรวจบัญชีความดีความชั่วของมนุษย์ และหน้าที่สำคัญคือให้อภัยโทษแก่ผู้รู้ผิดกระทำพลีบูชาท่าน วัน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ท่านจะลงมาตรวจบัญชีชั่วดีของมนุษย์แล้วประทานอภัยให้ นอกจากนี้ท่านยังต้องมาเป็นประธาน ดูแลการไหว้ผีไม่มีญาติ ซึ่งคนเป็นผู้ไหว้ โดยท่านจะไปเจรจากับ "ลี่" ราชาของผีพวกนี้ ให้ช่วยคุมดูแลบริวารไม่ให้ทำร้ายมนุษย์ ฉะนั้นผู้คนจึงกินเจ ทำพิธีเซ่นสรวงบูชาท่าน เซ่นไหว้บรรพชน เพื่อให้ท่านอภัยโทษให้ทั้งแก่ตน เองและวิญญาณบรรพชน ปัจจุบันในไต้หวันนิยมไหว้ท่านตั้งแต่ยามแรกของวัน ๑๕ ค่ำ จีนแบ่งวันคืนออกเป็น ๑๒ ยาม ยามละ ๒ ชั่วโมง ยามแรกคือช่วง ๕ ทุ่มถึงตี ๑ (๒๓.๐๐-๐๑.๐๐ น.) ยามแรกของวัน ๑๕ ค่ำ ก็คือช่วง ๒๓.๐๐-๐๑.๐๐ น. ของคืนวัน ๑๔ ค่ำ เพราะจีนเริ่มวันใหม่ตอน ๕ ทุ่ม ถ้าไม่ไหว้ตอน ๕ ทุ่ม ก็มาไหว้ตอนเที่ยงวันของวัน ๑๕ ค่ำ หลังจากไหว้บรรพบุรุษไปแล้ว ในจีนแต่ละถิ่นเวลาไหว้ต่างกัน บางถิ่นก็ไม่ได้ไหว้แล้ว ส่วนในไทยไม่ปรากฏมีพิธีไหว้เทพจง หยวนโดยเฉพาะ ประเพณีนิยมการไหว้ในวันเทศกาลจีนของไทยจะไหว้เจ้าและเทวดาทั้ง หมดตอนเช้า อนึ่งคนจีนในไทย นับถือ "ตี่จู๋เอี๊ย " คือ "เจ้าที่" มาก มีศาลเล็กๆ ตั้งอยู่ในบ้านแทบทุกบ้าน ตี่จู๋เอี๊ยอยู่ใต้บังคับบัญชาของตี้กวน (ธรณิศเสนา) หรือเทพจงหยวน จึงถือได้ว่าเป็นตัวแทนของท่านประจำอยู่ทุกบ้าน การไหว้ตี่จู๋เอี๊ยจึงพออนุโลมแทน การไหว้เทพจงหยวนได้
ไหว้บรรพชน

     การเซ่นไหว้บูชาบรรพชนเป็นประเพณี เก่าแก่ที่สุดของจีน เพราะจีนถือระบบวงศ์ตระกูลเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เป็นศูนย์กลางของสังคมและวัฒนธรรม จีน การไหว้บรรพชนเป็นกิจสำคัญที่สุดของลูกหลาน เจ้าอาจไม่ต้องไหว้ก็ได้ แต่ปู่ย่าตายายไม่ไหว้ไม่ได้
การไหว้บรรพชนในวันสารทจีน เดิมมีทั้งไหว้ที่บ้านหรือศาลประจำตระกูล (ฉือถาง ) ในหมู่บ้าน และไปไหว้ที่สุสานเหมือนวันเช็ง เม้ง แต่ปัจจุบันเหลือแต่การไหว้ที่บ้าน ตามความเชื่อของชาวจีนเชื่อว่า วันสารทจีนวิญญาณบรรพชนที่ยังไม่ได้ไปเกิดจะกลับมาเยี่ยมบ้าน แต่ก่อนที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน มีประเพณีเชิญวิญญาณบรรพชนมาบ้านตั้งแต่เย็นวัน ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ แล้วไหว้ตอนค่ำตั้งแต่วัน ๑๒-๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำไหว้ใหญ่ ตอนค่ำทำพิธีส่งวิญญาณกลับ ปกติการไหว้บรรพชนนิยมไหว้ช่วงก่อนเที่ยง ตั้งแต่ ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป โดยไปไหว้ที่ศาลประจำตระกูลในหมู่บ้าน ซึ่งมีป้ายสถิตวิญญาณของบรรพชนรวมอยู่ หรือจะไหว้ในบ้านของตนเองก็ได้
ไหว้ผีไม่มีญาติ

      การ ไหว้ผีไม่มีญาติเป็นกิจกรรมสำคัญของวันสารทจีนมาแต่โบราณ ผีพวกนี้โบราณเรียกว่า
"ลี่ " ถือเป็นผีชั่วร้าย อิทธิพลพุทธศาสนาทำให้ทัศนะของผีพวกนี้เปลี่ยนไปเป็นผีที่น่า สงสาร จนปัจจุบันเรียกผี พวกนี้ว่า "ฮอเฮียตี๋ " แปลว่า "พี่น้องที่ดี" การไหว้ผีพวกนี้ไม่ไหว้ในบ้าน นิยมไหว้ริมถนนหนทาง ชายน้ำ สมัยโบราณจัดสถานที่ไหว้นอกเมือง เรียกว่า "ลี่ถาน" ในอดีตการไหว้ผีไม่มีญาติเป็น กิจกรรมสำคัญที่ขาดไม่ได้ นอกจากไหว้ในวันสารทจีน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ แล้วยังไหว้ในวัน ๑ ค่ำ และวัน ๓๐ ค่ำ ซึ่งเป็นวันเปิดประตูยมโลกและปิดประตูยมโลกอีกด้วย แต่ปัจจุบันในจีนการไหว้ "ฮอเฮียตี๋" ในวันสารทจีนเหลือน้อยมาก ในถิ่นกวางตุ้ง แคะ ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว แทบไม่มีเลย เพราะยกไปไหว้รวมกันเป็นกิจกรรมของชุมชน โดยเรี่ยไรเงิน ข้าวของไปจัดพิธี "ซีโกว" ไหว้ผีไม่มีญาติที่วัดในช่วงหลังวันสารทจีน ส่วนในไต้หวันยังมีผู้ไหว้อยู่ นิยมไหว้ช่วงเย็นตั้งแต่ ๑๖.๐๐ น. เป็นต้นไป ในไทยแต่ก่อนไหว้กัน แทบทุกบ้าน ปัจจุบันยังพอมีเหลืออยู่บ้างไม่มากนัก

ทิ้งกระจาด (ซิโกว)

     การอุทิศส่วนกุศลให้ผีไร้ญาติ นอกจากการเซ่นไหว้ส่วนตัวของแต่ ละครอบครัวแล้ว ยังมีพิธีกรรมของส่วนรวมแต่ละชุมชนอีกด้วย การทิ้งกระจาดเป็นพิธีสำคัญเพื่อการนี้ เป็นการ "ซีโกว" คือการอุทิศส่วนกุศลแก่ผีไม่มีญาติแบบหนึ่ง ชื่อตามคัมภีร์พุทธศาสนาของจีน เรียกว่า  แต้จิ๋วอ่านว่า "หยู่แคเอี่ยมเค่า" จีนกลางว่า "อวี๋เจียเยี่ยนโข่ว" แปลว่า "พิธีเปรตพลีโยคกรรม" เป็นพิธีสำคัญคู่กับ "อุลลัมพนสังฆทาน" ของวัดและพุทธศาสนิกชนจีน อุลลัมพนสังฆทาน จัดข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภคใส่อ่างหรือกระจาดถวายสังฆทาน อุทิศส่วนกุศลแก่บิดามารดาและบรรพ ชน ส่วนผีไร้ญาติจัด พิธีทิ้งกระจาดอุทิศส่วนกุศลให้ หลักการสำคัญของพิธีคือแจกทานแก่คนยากจนอุทิศส่วนกุศลแก่ผีไร้ ญาติ โดยผ่านพิธีกรรมทาง พุทธศาสนา นิมนต์มาทำพิธีพุทธบูชา สวดมนต์บทที่เกี่ยวข้องกับพิธีนี้แล้วเอาข้าวของที่มีผู้บริจาคมา แจกแก่ผู้มารับทานซึ่งส่วนมากเป็นคนยากจน แต่อาจมีพวก "อยากจน" ปะปนอยู่บ้าง รายละเอียดโปรดอ่านในเรื่องพิธี ทิ้งกระจาดของอาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน ปัจจุบันการจัดอุลลัมพนสังฆทานในหมู่ชาวบ้านจีนสูญสิ้นไป แต่การทิ้งกระจาดยังได้รับความนิยม อยู่ แต่รูปแบบที่จัดในจีน ไต้หวัน และไทยมีความแตกต่างกันบ้าง พิธีนี้ส่วนมากจัดหลังวันตรุษจีน แต่ละถิ่นไม่ตรงกัน แต่ต้องก่อนวัน ๓๐ ค่ำ เดือน ๗ อันเป็นวัน "ปิดประตูยมโลก"


[ สมาชิก : เด็กหาดใหญ่ - 26/03/2007 - 17:11 ]


มังกรกับหงส์
มังกรและหงส์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายของชีวิตคู่ที่สมบูรณ์พูลสุขตามความเชื่อของคนจีน
มังกร กับหงส์เป็นสัตว์มงคลที่คนจีนนับถือ เรามาทำความรู้จักกับมังกร ในสมัยโบราณ มังกรเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจขององค์จักรพรรดิจีน เหมือนดั่งที่ดอกเบญจมาศเป็นสัญลักษณ์คู่กับจักรพรรดิญี่ปุ่น
มังกรในภาษาจีนเรียกว่า "หลง" (Long หรือ "เล้ง") พระตำหนักของจักรพรรดิก็ดี ฉลองพระองค์ก็ดี จะมีคำว่า "หลง" นำหน้าเพื่อแสดงว่าเป็นของสูง เช่น "หลงเผา" (Long Pao) ฉลองพระองค์ปักลายมังกร "หลงอี่" (Long Yi) พระที่นั่งแกะสลักลายมังกร เสาในพระตำหนักทุกต้นต้องมีลายมังกรพันรอบ ธงประจำราชวงศ์ชิงก็เป็นธงมังกร
นัก โบราณคดีเชื่อว่า มังกรเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม "หย่าง เสา" (Yang Shao) เมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อน ในสมัยนั้น มังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในจินตนาการของชนเผ่าต่าง ๆ เป็นเจ้าแห่งทะเล สามารถดำน้ำเหินฟ้าได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวก็ได้ ย่อและขยายตัวก็ได้ เรียกลมเรียกฝนได้ ชนเผ่าโบราณนับถือมังกรเสมือนพระเจ้า เรียกว่า "พญามังกร" เซ่นไหว้ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล บทสวดในสมัยโบราณ มีการเอ่ยอ้างชื่อเจ้าแห่งมังกรถึงหลายสิบชื่อ
ความ เชื่อในยุคต่อ ๆ มา ช่วยกันเติมแต่งให้มังกรเป็นสัตว์ที่มีอิทธิฤทธิ์และมีรูปร่างประหลาดมาก ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ตัวเป็นงู เกล็ดเป็นปลา มีหนวด มีปีก มีเขาเหมือนกวาง มีแผงคอเหมือนม้า มีอุ้งเล็บแบบพญาอินทรี รวมความแล้วมีส่วนประกอบของสัตว์ต่าง ๆ ประมาณ 9 ชนิด ชื่อเรียกก็แตกต่างกันตามรูปร่าง เช่น ถ้ามีเกล็ดก็เรียกว่า "เจียวหลง" มีปีกเรียกว่า "อิ้งหลง" มีเขาเรียกว่า "เฉียวหลง" ฯลฯ การตกเแต่งหน้าตาให้มังกรไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น ยังทำกันไปตามความคิดเห็นที่จะทำให้มังกรดูสง่างาม
ใน ยุคปัจจุบัน มังกรยังคงเป็นสัตว์มงคลในความรู้สึกของคนจีนทั่วไป มังกรกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งประเทศจีน เป็นสัญลักษณ์แห่งประชาชาติจีนและเป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมจีน คนจีนถือว่าตัวเองคือลูกหลานของมังกร และมังกรก็คือสัญลักษณ์ของจีนเมื่อไปอยู่ต่างประเทศ ในเทศกาลสำคัญๆ จะเห็นตัวมังกรปรากฏตัว เช่น เทศกาลตรุษจีนจะมีการเชิดโคมไฟมังกร และเทศกาลบ๊ะจ่างจะมีการแข่งเรือมังกร เป็นต้น
หงส์ในภาษาจีนเรียกว่า "เฟิ่ง" (Feng) หรือ "เฟิ่งหวาง" (Feng Huang) เป็น สัญลักษณ์แห่งความสิริมงคล ตำนานเล่ากันมาว่า หงส์เป็นราชาแห่งนกนานาพันธุ์ เป็นสัตว์ในจินตการและในเทพนิยายของคนโบราณ และมีส่วนประกอบของสัตว์หลาย ๆ ชนิดรวมกันเช่นเดียวกับมังกร เช่น หัวเป็นไก่ฟ้า ปากเป็นนกแก้ว ตัวเป็นเป็ดน้ำ ปีกใหญ่ปานนกยักษ์ ต่อมน้ำลายสองข้างใหญ่เหมือนนกนางแอ่น มีขน 5 สีเหมือนนกยูง สูงประมาณ 6 ฟุต เวลาร้องเสียงจะกังวาลราวเสียงขลุ่ย
ฝรั่ง ก็มีสัตว์ในเทพนิยายรูปร่างอย่างเดียวกับหงส์ เรียกว่า "ฟีนิกซ์ (phoenix) เป็นนกสีแดงเพลิง เป็นอมตะไม่มีวันตาย
เชื่อ กันว่า ชนเผ่าโบราณสร้างหงส์กับมังกรเป็นสิ่งเคารพศักดิ์สิทธิ์คู่กันมาตั้งแต่ประม าณ 6,000 ปีก่อน หงส์เป็นตัวแทนฝ่าย หยิน (Yin) ขณะที่มังกรเป็นตัวแทนฝ่ายหยาง (Yang) วัฒนธรรม จีนบางครั้งจึงเรียกว่า วัฒนธรรม "หลงเฟิ่ง" (Long Feng) ในงานชุมนุมมวลชนหรือเทศกาลใหญ่ ๆ เขามักจะสร้างหงส์และมังกรตัวใหญ่ ๆ ขึ้นมา เพื่อทำให้งานคึกคักและเป็นมงคล
ถ้า พูดโดยละเอียด "เฟิ่ง" คือหงส์ตัวผู้ "หวาง" (Huang) คือหงส์ตัวเมีย แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกรวมกันว่า "เฟิ่งหวาง" คนโบราณถือว่า เมื่อบ้านเมืองสงบสันติ จะมีนกเฟิ่งหวางปรากฏขึ้นให้เห็น การเห็นนกเฟิ่งหวางบินขึ้นคู่กันบนท้องฟ้า เป็นนิมิตหมายที่ดี
คำ ว่า "เฟิ่งหวาง" (Feng Huang) ยังเป็นชื่อที่นิยมตั้งให้กับ เด็กสาว แม้แต่การตั้งชื่อสถานที่ ก็นิยมใช้ศัพท์สองคำนี้กันมากมาย ในประเทศจีนมีภูเขาชื่อ "เฟิ่งหวาง" ถึงหลายสิบลูก กระจายอยู่ในมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่มณฑลเหลียวหนิงทางเหนือสุด จนถึงมณฑลยูนนานทางใต้สุดของประเทศ
ในงานมงคลสมรส หงส์กับมังกรก็ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องหมาย
ของ ชีวิตคู่ที่สมบูรณ์พูลสุข หงส์จะเป็นสัญลักษณ์แห่งฝ่ายหญิง และมังกรจะเป็นสัญลักษณ์แห่งฝ่ายชาย หงส์กับมังกรอยู่คู่กันก็จะเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมดุลระหว่างฝ่ายหญิงกับ ฝ่ายชาย คือ ระหว่างฝ่ายหยินกับ
ฝ่ายหยาง  



วิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน
 วิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน
          เชื่อว่าหลายท่านที่เป็นคอละครหนังจีนกำลังภายในหรือย้อน ยุค คงเคยเกิดความสงสัยอย่างที่ผู้เขียนสงสัย นั้นก็คือความหลายหลายของเสื้อผ้าตัวละครในหนังจีน  ว่า ทำไมแต่ละเรื่องการแต่งกายจึงมีความไม่เหมือนกัน เสื้อผ้าและทรงผมแบบนี้มีอยู่จริงหรือ หลายท่านคงเดาออกว่าประวัติศาสตร์ชาวจีนมีมานานแสนนาน มีมาหลายราชวงศ์ แต่ก็สับสนทุกครั้งที่ชมละครหรือภาพยนตร์จีน 
                ในฉบับนี้ผู้ เขียนจึงขอพูดถึงหัวข้อวิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายชาวจีนแก่ท่านผู้อ่าน เพื่อท่านผู้อ่านสามารถชมละครหรือภาพยนตร์จีนให้ได้อรรถรสของกลิ่นอาย วัฒนธรรมชาวจีน ในยุคเก่าก่อน
ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมี มานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น  ชาวจีนได้รับอิทธิพล เครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน  รวม ถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
              เนื่องจากชนกลุ่ม น้อยเผ่า ๆ ต่างในประเทศจีนมีอยู่ถึง 42 เปอร์เซนต์ ของประชากรจีนทั้งหมด ซึ่งเมืองที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เยอะที่สุดคือเมือง หวินหนาน จึงจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน( 历代服饰 ) และกลุ่มการแต่งกายของชนกลุ่มน้อย ต่าง ๆ ในประเทศจีน ( 民族服饰 ) ซึ่งมีอยู่ถึง 50 กว่า ชนเผ่า  ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ มักจะมีการแต่งกายที่มีลักษณะเอกลักษณ์และมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุค สมัย ในฉบับนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโดยสังเขป

วัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน ( 历代服饰 )
สมัยฉิน  (221-220 ปีก่อนคริสต์ศักราช)     เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายสมัยฉินได้รับอิทธิพลจากแนวคิดอิ๋นหยาง(( 阴阳)ความสมดุลของสรรพสิ่ง กฎแห่งความสมดุลของธรรมชาติ) เนื่องจากยุคสมัยฉินค่อนข้างจะสั้น ดั่งนั้นสีของเสื้อจะเป็นการผสมผสานระหว่างสีเสื้อผ้าที่ฉินซีฮ่องเต้เป็น ผู้กำหนดและสีเสื้อผ้าตามประเพณีจารีตของยุคจ้านกั๋ว
                เสื้อผ้าผู้ชาย สมัยฉินเป็นลักษณะเสื้อคลุมยาว ฉินซีฮ่องเต้ได้กำหนดให้ใช้สีดำเป็นหลักในการตัดเย็บสำหรับเสื้อผ้าพิธีการ โดยเชื่อว่าสีดำเป็นสีที่คู่ควรแก่การได้รับความเคารพ ข้าราชการยศระดับ 3 ขึ้นไปให้ใช้สีเขียวประกอบในการตัดเย็บ ประชาชนทั่วไปใช้สีขาวประกอบในการตัดเย็บ เสื้อผ้าผู้หญิง ฉินซีฮ่องเต้ไม่ได้มีการกำหนดสีในการตัดเย็บเนื่องจากท่านชื่นชอบสีสันความ สวยงามของเสื้อผ้าที่นางสนมในวังสวมใส่ จึงเน้นเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยหรู ฉูดฉาด
  เสื้อผ้ากษัตริย์สมัยฉินและฮั่น 
  ข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป
เสื้อ ผ้าผู้หญิง
มัยฮั่น (202 ปี ก่อนคริสตศักราช ค.ศ. 8)   เสื้อผ้าสมัยฮั่น จะประกอบด้วย เสื้อคลุมยาว()  เสื้อลำลองแบบสั้น(襜 褕 เสื้อนวมสั้น ()  กระโปรง (ผู้หญิง) และ กางเกง (ผู้ชาย) ในยุคนี้ผ้าที่มีลักษณะการถักทอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  ดัง นั้น คนที่มีเงินในสมัยนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าแพรต่วน ซึ่งมีความสวยงามมาก โดยทั่วไปผู้ชาย จะสวมเสื้อสั้น กางเกงขายาว  และหากฐานะยากจน จะสวมเสื้อแขนสั้นที่ตัดเย็บด้วยผ้าหยาบ  ในส่วนของผู้หญิงในสมัยฮั่นเสื้อผ้ามีตั้งแต่เป็นลักษณะ เสื้อและกระโปรงต่อกัน (กี่เพ่า) และแยกเสื้อกระโปรงเป็น 2 ชิ้น  กระโปรงจะมีลวดลายหลากหลายมาก กระโปรงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยนั้น คือ กระโปรง ลายเทพสถิตย์  (留仙裙)
                ระดับชั้นของข้า ราชการในสมัยฮั่น จะมีหมวกและสายประดับยศเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งชั้นของขุนนาง ซึ่งสมัยนั้น ตำแหน่งอัครเสนาบดีเป็นขุนนางตำแหน่งสูงสุด
สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย   ( 魏晋南北 ค.ศ.220- ค.ศ.589)      สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย หรือที่เรารู้จักกัน สมัยสาม ก๊ก ก็อยู่ในยุคนี้ สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ยจัดได้ว่าเป็นสมัยที่ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าเฟื่องฟู เครื่องแต่งกายชายหญิง ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ จนถึงประชาชนทั่วไป เสื้อผ้า จะมีลักษณะหลวมยาว และมีเข็มขัดคาด หากเป็นเสื้อผ้าผู้ชายจะมีการเปิดแผงหน้าอกเล็กน้อย ไหล่เสื้อลู่ลง แขนเสื้อกว้าง สวมใส่ดูสบาย (ทั้งนี้แล้วแต่มุมมองของผู้อ่าน เนื่องจากบางท่านก็เห็นว่าแลดูลุ่มล่าม) ในส่วนของเสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อกี่เพ่าแลดูเป็นกระโปรงยาวลากพื้น แขนเสื้อกว้าง เข็มขัดจะคาดให้ดูเป็นชั้น ๆ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความสุภาพ และสง่างาม
                              

                                                                                       



สมัยสุ่ย และสมัยถัง  (隋唐 ค.ศ. 581-ค.ศ. 907)   เสื้อผ้าของสมัยสุ่ยและสมัยถังมีรูปแบบเสื้อผ้าที่มีความ ใกล้เคียงกันสูง  เสื้อผ้าต้นสมัยสุ่ยค่อนข้างจะ เรียบง่าย  เสื้อผ้า ยังคงมีลักษณะกี่เพ่าหรือเสื้อคลุมยาว เมื่อกษัตริย์สุ่ยหยางขึ้นครองราชย์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื้อผ้าในยุคสมัยดังกล่าวได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สวยงาม ขึ้นเช่นกัน
                                           
              ชุดกษัตริย์สมัยสุ่ยและถัง                                                  เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยสุ่ย แลดูเรียบง่าย

นักประพันธ์วรรรคดีจีน


หลี่อวี๋---นักวิชาการการละคร



中国国际广播电台



ในประวัติวรรณคดีโบราณหลายพันปีของจีนเคย ปรากฏกวี นักประพันธ์บทละครและนักเขียนวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นจำนวนมาก แต่บุคคลผู้เป็นทั้งนักประพันธ์บทละคร ผู้กำกับ นักทฤษฎีการละครและ นักเขียนวรรณกรรมนั้นหาได้น้อยนัก หลี่อวี นักวรรณคดีที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยโบราณของจีนก็เป็นผู้หนึ่งที่มี คุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วน

หลี่อยี๋เกิดในปีค.ศ. 1610 สมัยราชวงศ์หมิงของจีน เมื่อเขามีอายุ 30 ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ ราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์ศักดินาราชวงศ์สุดท้ายของจีนได้เข้าแทนที่ราชวงศ์ หมิงด้วยกำลังอาวุธ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนในสังคมอย่างหนักและยืดเยื้อเป็นเวลานานหลายสิบปี หลี่อวี๋ช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่ปั่นป่วนนี้จนถึงแก่กรรมในปีค.ศ. 1680

หลี่อวี๋รับการศึกษาของลัทธิหยูหรือลัทธิขงจื้อที่มีมาแต่ดั้งเดิมตั้งแต่ ยังเด็ก และหวังจะเจริญรอยตามปัญญาชนโบราณของจีน นั่นก็คือ เข้าสู่วิถีชีวิตขุนนางโดยผ่านการสอบคัดเลือก แต่เขาอยู่ในยุคบ้านเมืองปั่นป่วน แม้เคยเข้าร่วมการสอบคัดเลือกหลายครั้ง แต่ก็สอบตกทุกครั้ง หลังจากนั้น หลี่อวี๋ไม่ใฝ่หาลาภยศอีก เขาเปิดร้านขายหนังสือในบ้าน มีอาชีพแกะสลักและขายหนังสือเป็นอาชีพ ขณะเดียวกันก็ได้ทุ่มเทแรงกายและใจทั้งหมดให้แก่การประพันธ์ บทละคร

ผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดชีวิตของหลี่อยี๋อยู่ที่การประพันธ์บท ละครและทฤษฎีการละคร ผลงานบทละครของหลี่อยี๋ที่เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันมี 10 ประเภท ซึ่งรวมถึง “ปี่มู่อวี๋” “หวงฉิวฟ่ง” “อวี๋เซาโถว”และ“เหลียนเซียงป้าน” เป็นต้น บทละครเหล่านี้ โดยพื้นฐานแล้วต่างก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวความรักระหว่างชายหญิง ส่วนใหญ่มีที่มาจากชีวิตจริง ได้สรรเสริญความปรารถนาและการใฝ่หาความรักอย่างอบอุ่นของหนุ่มสาว บทละครของหลี่อวี๋มีเค้าโครงซับซ้อน ชวนให้เพลิดเพลินหรือรู้สึกตลกขบขัน เหมาะที่จะแสดงบนเวทีเป็นอย่างยิ่ง แต่ผลงานบทละครของเขาไม่ได้เป็นเพียงเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เท่านั้น ยังคงแฝงประเด็นทางสังคมที่หนักแน่น อาทิ การวิพากษ์วิจารณ์ทัศนะการแบ่งชนชั้นตามฐานะและระบบการสมรสแบบคลุมถุงชน เป็นต้น ละครของหลี่อวี๋เป็นที่ต้อนรับอย่างกว้างขวางในสังคมสมัยนั้น ทั้งได้แพร่หลายไปยังญี่ปุ่นและประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการไปมาหา สู่กันใกล้ชิดกับจีน จนถึงปัจจุบัน ละครแบบดั้งเดิมของจีนก็ยังคงมีการแสดงละครที่หลี่อวี๋แต่ง

หลี่อยี๋ไม่เพียงแต่ได้เขียนบทละครจำนวนมากไว้ เขายังจัดตั้งคณะละครมาแสดงละครที่เขาเรียบเรียงขึ้น ในละคร หลี่อวี๋เป็นผู้กำกับเอง บางครั้งยังแสดงเองอีกด้วย ในสมัยโบราณ การแสดงละครถูกสังคมชั้นสูงมองว่าเป็นงานที่ต่ำต้อย และปัญญาชนก็ดูถูกเหยียดหยาม แต่เพื่อภารกิจที่ตนเองชอบ หลี่อวี๋ได้นำคณะละครออกไปแสดงตามที่ต่าง ๆ ได้เดินทางไปทั่วกว่า 10 มณฑลทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้ของจีน กินเวลานานกว่า 20 ปี

การทำงานด้านละครอันยาวนานช่วยให้หลี่อวี๋ได้สะสมประสบการณ์ที่สมบูรณ์ เขาได้สัมผัสทุกขั้นตอนของงานละครด้วยตนเอง ตั้งแต่การเรียบเรียงบทละคร คัดเลือกนักแสดง ผู้กำกับและการฝึกซ้อมจนถึงการออกแสดงอย่างเป็นทางการ ทุกขั้นตอนเขาคิดละเอียดรอบคอบ เขาบันทึกข้อคิดของตนไว้ในหนังสือ“เสียนฉินอื๋อจี้” จนต่อมาได้ค่อยๆกลายเป็นทฤษฎีการละครที่สมบูรณ์รวมถึงทฤษฎีการเขียนบทละคร ทฤษฎีผู้กำกับและทฤษฎีการแสดงละคร ทฤษฎีละครชุดนี้เป็นสัญลักษณ์ของการสงสัยทฤษฎีละครโบราณของจีน ซึ่งเป็นผลดีในการส่งเสริมพัฒนาการของทั้งศิลปะละครและวรรณคดี

นอกจากความสำเร็จในการประพันธ์บทละครและทฤษฎีการละครแล้ว หลี่อยี๋ยังเป็นนักเขียนวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในประวัติวรรณคดีของจีนอีก ด้วย เขาได้เขียนวรรณกรรมขนาดยาวเรื่อง“เจอี๋ยโฮ่วฉัน”และวรรณกรรมขนาดสั้นเรื่อง “อู๋เซินซี่”และ“สือเอ้อโหลว” เป็นต้น วรรณกรรมของหลี่อวี๋มักจะวางเค้าโครงและแต่งเรื่องจากประสบการณ์ ชีวิตและสิ่งที่ตนได้พบเห็น เป็นการขยายโอกาสแสดงฝีมือการประพันธ์ของตน เขามีเอกลักษณ์เด่น ในวรรณกรรมของหลี่อวี๋ ยังมักจะได้พบเนื้อหาสาระโต้แย้งสังคม สวนทางกับทัศนะแบบประเพณีนิยมแต่ดั้งเดิมบางอย่าง เช่น ในสมัยโบราณของจีนมีทัศนะดั้งเดิมที่ว่า“นี๋จื่ออู๋ไฉเปี้ยนซื่อเต๋อ”หมาย ความว่า“การไร้ความรู้ความสามารถของผู้หญิงก็คือคุณธรรม”เพื่อให้ผู้หญิง ยินยอมอยู่ในสภาพที่ขาดความรู้ แต่หลี่อวี๋กลับแสดงในวรรณกรรมว่า การมีความรู้ความสามารถของผู้หญิงจึงจะเป็นคุณธรรม ส่งเสริมให้สตรีเรียนรู้ความสามารถชนิดต่างๆ ซึ่งแฝงไว้ด้วยความคิดที่ให้มีความเสมอภาคกันระหว่างชายหญิง

นอกจากนี้ ความรู้ความสามารถของหลี่อวี๋ยังแสดงในด้านอื่นๆอีกมากมาย เช่น บทกวีและทฤษฎีประวัติศาสตร์ เป็นต้น ในหนังสือ“เสียนฉินอื๋อจี้”ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขา นอกจากผลงานด้านทฤษฎีการประเขียนบทละครแล้ว ยังมีความรู้เกี่ยวกับอาหารการกิน การก่อสร้าง การสะสม การบันเทิงเริงรมย์ตลอดจนการเพาะปลูก เป็นต้น แม้จะนำมาอ่านในปัจจุบันก็ยังมีความรู้สึกสนุกสนานอยู่ไม่น้อยทีเดียว



หลี่ไป๋---“เซียนแห่งกวี”



中国国际广播电台





หลี่ไป๋เป็นกวีมีชื่อเสียงโด่งดังสมัยราชวงศ์ถังของจีน มี อุปนิสัยอวดดีลำพองตัว มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ใจนักเลงและเปิดเผย มีความคิดอิสระ ทั้งนี้สะท้อนถึงคุณลักษณะแห่งยุคสมัยและสภาพจิตใจของปัญญาชนในช่วงเวลาที่ เจริญรุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง

หลี่ไป๋มีบ้านเกิดอยู่ที่มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน จนกระทั่งบัดนี้ สภาพครอบครัวและแหล่งกำเนิดที่แน่นอนของหลี่ไป๋ก็ยังคงเป็นปริศนาอยู่ บทกวีของหลี่ไป๋กล่าวว่า ครอบครัวของเขาร่ำรวยและมีการศึกษา หลี่ไป๋อ่านหนังสือมากมาตั้งแต่เยาว์วัย นอกจากอ่านหนังสือแล้ว เขายังฝึกมวยรำกระบี่ได้ดีด้วย เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม หลี่ไป๋ออกท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆตั้งแต่อายุ 20 ปีเศษ เพราะเขามีความรอบรู้ มีความสามารถเฉลียวฉลาดเหนือคนทั่วไป จึงประสบผลสำเร็จยอดเยี่ยมในด้านกวีนิพนธ์ แม้ว่าสมัยนั้น เทคโนโลยีการพิมพ์และการคมนาคมยังไม่เจริญนัก แต่หลังจากการแลกบทกวี้กันระหว่างปัญญาชน ก็ทำให้หลี่ไป๋มีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม การศึกษาหาความรู้และการเข้าร่วมการสอบคัดเลือกขุนนางเป็นทางเลือกของผู้ เรียนหนังสือในสมัยโบราณของจีนมาแต่ไหนแต่ไร ในวัยเยาว์หลี่ไป๋ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับผลสำเร็จในวิถีชีวิตขุนนาง เขาจึงเดินทางไปถึงกรุงฉางอาน ราชธานีของราชวงศ์ถัง เนื่องจากเขาเป็นกวีชื่อดัง รวมทั้งได้รับการเสนอชื่อจากบุคคลที่มีชื่อเสียง หลี่ไป๋จึงมีโอกาสได้เป็นอาลักษณ์วรรณคดีของจักรพรรดิในราชวัง ระยะนี้นับเป็นช่วงเวลาที่หลี่ไป๋มีความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต

หลี่ไป๋มีอุปนิสัยถือดี เขาไม่พอใจต่อสภาพเหลวแหลกเน่าเฟะในเวทีการเมืองเป็นอย่างมาก เขาเคยหวังไว้ว่า จะได้รับโปรดเกล้าจากจักรพรรดิแต่งให้มีโอกาสแสดงความสามารถทางการเมือง แต่จักรพรรดิในขณะนั้นทรงมองหลี่ไป๋เป็นเพียงกวีส่วนพระองค์เท่านั้น ประกอบกับเจ้าขุนมูลนายบางคนในราชสำนักใส่ร้ายป้ายสีเขา ในที่สุดก็ทำให้จักรพรรดิทรงขาดความเชื่อถือหลี่ไป๋ ด้วยเหตุนี้ หลี่ไป๋จึงจำต้องอำลาจากจากกรุงฉางอานด้วยความผิดหวังต่อราชสำนัก และหันไปใช้ชีวิตแบบนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลี่ไป๋ใช้เวลาส่วนใหญ่ออกท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ ระหว่างนั้น เขาได้แต่งบทกวีพรรณนาถึงทัศนียภาพธรรมชาติเป็นจำนวนมาก บทกวีที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจนปัจจุบันของหลี่ไป๋มีมากมาย เช่น “สู่เต้าจือหนัน หนันอวีซ่างชิงเทียน”ซึ่งหมายความว่า“ทางขึ้นภูเขาในมณฑลเฉสวน ยากยิ่งกว่าการปีนขึ้นท้องฟ้า” “จวินปู๋เจี้ยนหวงเหอจือสุ่ยเทียนซ่างไหล เปินหลิวเต้าไห่ปู้ฟู่หุย”แปลเป็นไทยว่า “ท่านไม่เห็นแม่น้ำเหลืองไหลจากฟ้า ธาราไหลเชี่ยวสู่ทะเลไม่หวนกลับ ” “เฟยหลิวจื๋อเซี่ยซันเชียนฉื่อ อวี๋ซื่ออิ๋นเหอลั่วจิ่วเทียน” แปลเป็นไทยว่า “ไหลละลิ่วพุ่งพาดลงสามร้อยวา สงสัยว่าเป็นคงคาเงินจากเมืองแมน”เป็นต้น บทกวีของหลี่ไป๋มักนิยมเขียนเชิงขยายความและใช้อุปมาอุปมาย บทกวีของหลี่ไป๋ที่เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันมีกว่า 900 บท นอกจากนี้ยังมีบทร้อยแก้วกว่า 60 บท บทกวีของหลี่ไป๋ดึงดูดใจผู้คนทั้งหลายด้วยภาพจินตนาการอันมหัศจรรย์และให้ ภาพที่สง่างาม มีอิทธิพลลึกซึ้งและยืนยาวต่อชนรุ่นหลัง ได้รับการยกย่องจากชนรุ่นหลังว่าเป็น “เซียนแห่งกวี”





















รากฐานและต้นกำเนิดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนเกิดขึ้นมาจากความคิด ความเชื่อ และปรัชญาจีน ไม่มีใครบอกได้ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อได้ แต่หากเราอาศัยพงศาวดารและนิยายปรัมปราจีนแล้ว เราอาจจะกล่าวได้ว่าปรัชญาจีนมีกำเนิดและวิวัฒนาการมานับพันๆปีเช่นเดียวกับปรัชญาอินเดีย การเกิดขึ้นของปรัชญาจีนอาจอธิบายได้ดังนี้ ในยุคโบราณ ราว 557 ปี ก่อนพุทธศักราช เชื่อกันว่ากษัตริย์นามว่า ฟูซี เป็นผู้ให้กำเนิดปรัชญาจีน แนวความคิดของพระองค์มีรากฐานมาจากการผสมเส้นตรง กล่าวคือ เส้นตรงเดี่ยว เรียกว่า หยาง เป็นตัวแทนแทนเพศชาย และเป็นสัญลักษณ์แทนความแข็งแกร่ง ส่วนเส้นตรงแยกเรียกว่า หยิน เป็นตัวแทนเพศหญิง และเป็นสัญลักษณ์แทนความอ่อนโยนแปรปรวน หยางและหยินแม้จะมีลักษณะตรงกันข้ามกัน แต่ทั้งสองก็รวมกันเป็นสิ่งที่เรียกว่า เอกภาวะ ได้ หรือประสานกลมเกลียวกันโดยอาศัยความแตกต่างนั่นเอง เส้นตรงทั้งสองนี้ในกาลต่อมา พระเจ้าเหวิน องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจ ได้ทรงนำมาจัดรวมกันได้ 8 กลุ่ม โดยมีกลุ่มละ 3 เส้น และเรียงกันเป็นรูปวงกลม เส้นตรงทั้งสามเส้นมี 8 กลุ่ม มีสัญลักษณ์แทนองค์ประกอบหรือธาตุหลักของจักรวาล 8 ประการ คือ สวรรค์ ดิน ฟ้า น้ำ ลม ไฟ ภูเขา และหนองบึง ในสมัยต่อมา เส้นตรง 3 เส้นทั้ง 8 กลุ่มนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีเส้นตรง 3 เส้นเพิ่มเข้ามา จึงเป็นเส้นตรง 6 เส้น และจัดกลุ่มได้ถึง 64 กลุ่ม แต่ละกลุ่มอธิบายธรรมชาติ จักรวาลและวิถีชีวิตของมนุษย์ เรียกว่า ปา กว้า เรื่องกำเนิดปรัชญาจีนนี้ พงศาวดารจีนกล่าวย้อนไปนับหมื่นๆปี ว่ามีคนเริ่มต้นสร้างสวรรค์ มีชื่อว่า โกสี แล้วก็มีพี่น้องอยู่ 3 กลุ่ม คือกษัตริย์ในสรวงสวรรค์ 12 องค์ กษัตริย์บนโลก 11 องค์ และกษัตริย์ที่เป็นมนุษย์อีก 9 องค์ ทั้ง 3 กลุ่มนี้จะเป็นตัวแทน สวรรค์ โลก และมนุษย์ เชื่อกันว่ากษัตริย์เหล่านี้เป็นวีรบุรุษของความอัจฉริยะด้านต่างๆ เช่น ยูเชา เป็นกษัตริย์ที่สร้างบ้านเรือเป็นองค์แรก ส่วน ซุยหยิน ทรงเป็นวีรบุรุษด้านสร้างรถไฟเป็นต้น ปรัชญาอีกอย่างที่มีอิทธิพลต่อการสร้างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน คือ หยินหยาง ปรัชญานี้เป็นลัทธิเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา ที่ค้นหาและศึกษาความจริงเกี่ยวกับสากลจักรวาล และเชื่อว่าหยางหยิน เป็นต้นเค้า หรือต้นกำเนิดของสรรพสิ่งต่างๆ ทฤษฎีและวิวัฒนาการของหยางหยินนี้ นักปราชญ์จีนชื่อ ชาน อธิบายไว้ว่า เรื่องหยางหยินเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อจีนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ศาสตราจารย์ฟุงยู่หลาน กล่าวไว้ว่า หยางหยินมีพื้นฐานมาจากดาราศาสตร์ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า ฟางจือ นิกายนี้มีแนวโน้มไปทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามอธิบาย ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ในความหมายของพลังของธรรมชาติ ในระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเกิดนิกายนี้ นักปราชญ์ในสมัยนั้นมีแนวความคิดอยู่ 2 ทฤษฎี ซึ่งต่างก็พยายามอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ ทฤษฎีแรก คือ หยางหยิน ส่วนทฤษฎีที่สอง คือ ธาตุทั้ง 5 หรือ หวู ซิ่ง มีหลักฐานปรากฏอยู่ในหนังสือ the book of history โดยใช้ชื่อว่า หลักใหญ่ ทฤษฎีนี้กล่าวถึงธาตุทั้ง 9 แต่เน้นความสำคัญเฉพาะธาตุ 5 ชนิดเท่านั้น โดยอธิบายว่า



• น้ำ มีธรรมชาติเปียกชื้นและไหลลงสู่ที่ต่ำ

• ไฟ มีลักษณะเป็นเปลวพุ่งขึ้นสู่ที่สูง

• ไม้ มีลักษณะโค้งงอหรือตั้งตรง

• เหล็ก มีลักษณะที่อาจถูกหลอมและเปลี่ยนรูปร่างได้

• ดิน ใช้เพาะปลูกและเก็บเกี่ยว

หนังสือ อู่ ซิง ซวอ ซึ่งเป็นหนังสือโบราณ ได้กล่าวถึงธาตุทั้ง 5 ไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากธาตุทั้ง 5 นี้ ธาตุทั้ง 5 จะเป็นส่วนประกอบของทุกสิ่งในโลกนี้ คนจีนใช้ความคิดนี้อธิบายสิ่งต่างๆ เช่น ฮวงจุ้ย ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี ว่าเอาอะไรผสมอะไรแล้วเกิดเป็นอะไร ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนจึงถือกำเนิดขึ้นมา ดังจะอธิบายต่อไป สำหรับทฤษฎีหยางหยินนั้น ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และปรากฏการณ์ธรรมชาติ วึ่งปรากฏในตำรา กวานจื้อ ไว้ว่า หยางหยินเป็นหลักสำคัญของสวรรค์และแผ่นดิน ฤดูทั้ง 4 เป็นวิถีแห่งหยางหยิน หากจะเทียบกับสิ่งประดิษฐ์ต่างๆแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ทุกสิ่งล้วนสอดคล้องกับหลักหยางหยินทั้งสิ้น สิ่งต่างๆจะต้องประกอบขึ้นมาจากสิ่ง 2 สิ่ง ตามหลักหยางหยิน ประโยชน์ใช้สอยจึงจะเกิดขึ้น ดังเช่นกุญแจ ตัวกุญแจมีรูสำหรับไข และมีรูปสำหรับเหล็กงอตัวอยู่ จะปิดลั่นกุญแจ ทั้งยังมีห่วงสำหรับคล้องสายยูกุญแจ จัดเป็นเพศหญิง คือ หยิน เรียกว่าแม่กุญแจ ส่วนลูกกุญแจเป็นเพศชาย เพราะมีรูปร่างแหลมไว้สอดเข้าไปในลูกกุญแจ หยางทำหน้าที่ไขให้หยินทำงานเปิดออก เป็นการเปิดเผยวิ่งที่ปิดบังไว้ออกมา หรืออีกตัวอย่าง คือครก เพราะตัวครกนั้นเป็นตัวแม่ เป็นเพศหญิง เนื่องจากมีหลุมลึกลงไป ส่วนสากคือเพศชาย ครกมีลักษณะรองรับพลังจากสาก เพื่อที่จะโขลกหรือป่นสิ่งใดๆ หยินเป็นตัวรองรับหยาง พลังงานจึงถือกำเนิดขึ้น ลำพังสากอย่างเดียวจะไม่ก่อให้เกิดพลังงานขึ้นมาได้ เป็นต้น เหลาจื้อยังกล่าวอีกว่า ความว่างเป็นเหตุให้เกิดความมี หรือความมีจะเกิดขึ้นได้ ก็จะต้องอา ศัยความว่าง แต่ถ้ากล่าวขั้นรวบยอดแล้ว ความว่างและความมีก็เป็นของสิ่งเดียวกัน ที่เรียกต่างกันนั้นก็เพราะอยู่ต่างลำดับกันเท่านั้น ดุจร้อน หนาว หรือ อยู่ในตำแหน่งต่างกัน เช่น หัวกับก้อยอยู่บนเหรียญเดียวกัน ทำนองเดียวกับวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกเมื่อแยกออกจากกันแล้ว ก็จะประกอบด้วยสิ่ง 2 สิ่ง คือ สสารกับพลังงาน แต่กล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว สสารกับพลังงานก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกัน อนึ่ง ความว่างตามความเห็นของคนทั่วไปนั้นไม่สำคัญ และไม่มีประโยชน์อะไร แต่เหลาจื้อกลับเห็นตรงกันข้าม เหลาจื้อคิดว่า ความว่างเปล่านั้นแหละสำคัญ คนเราจะได้ประโยชน์ก็เพราะมีความว่างนี่แหละ เหลาจื้อกล่าวว่า หากปั้นดินเหนียวเป็นภาชนะ ช่องว่างของดินเหนียวนั้นแหละทำให้ประโยชน์เกิดขึ้น หากเราเจาะประตูและหน้าต่างทำเป็นห้อง ช่องว่างของประตูและหน้าต่างนั้นแหละเป็นตัวที่ทำให้ห้องมีประโยชน์ จากเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานความคิดของชาวจีน อันจะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนในสมัย ต่อมา



วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีจีน

สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักในชื่อ สิ่งประดิษฐ์ทั้ง 4 ของจีน ซึ่งรวมถึง เข็มทิศ ดินปืน กระดาษ และการพิมพ์ สมัยนี้ภูมิศาสตร์ก็เจิญขึ้นมาเช่นกัน จากหนังสือจวงจื่อ ได้เก็บทฤษฎีของฮุ่ยซือ ไว้ว่า ข้าพเจ้าทราบว่า ศูนย์กลางของฝากฟ้า อยู่ทางตอนเหนือของรัฐเอียน และตอนใต้ของรัฐเยว่ คำว่าใต้ฟ้าที่คนสมัยนั้นเรียก หมายถึง แผ่นดินจีนนั่นเอง รัฐเอียน อยู่บริเวณปักกิ่ง ส่วนรัฐเยว่ อยู่บริเวณแม่น้ำแยงซีเกียง การที่จะหาจุดศูนย์กลางของจีนในสมัยโบราณนั้นต้องไปดูทางตอนใต้ของรัฐเอียน ตอนเหนือของรัฐเยว่ นี่มีเหตุผล คือ นักวิชาการไม่เพียงทราบว่าโลกหมุน แต่ยังทราบอีกว่าโลกกลมอีกด้วย ฉะนั้น ฮุ่ยซือจึงกล้าพูดว่า จุดศูนย์กลางของจีนอยู่ทางตอนเหนือของรัฐเอียน ตอนใต้ของรัฐเยว่ ทั้งนี้เพราะโลกกลม เมื่อเดินทางจากตอนเหนือของรัฐเอียน ก็จะสามารถไปถึงตอนใต้ของรัฐเอียนได้ ภูมิศาสตร์จีนก็เจริญไม่น้อยเช่นเดียวกัน

กงซูจื่อ เป็นวิศวกรที่ใครๆในสมัยนั้นก็รู้จักกันดี มีคำกล่าวว่า ผลงานอันยอดเยี่ยมของกงซูจื่อ หากไม่ใช้เครื่องมือเรขาคณิต ก็ไม่อาจสร้างรูปเหลี่ยม หรือวงกลม กงซูจื่อสร้างสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น นกพยนต์ เมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว กงซูจื่อใช้ไม้ไผ่สร้างนกบินขึ้นไปบนท้องฟ้า บินได้สามวันไม่ตกพื้นเลย แต่ว่าเราต้องตระหนักว่าส่วนประกอบของนกพยนต์กับเครื่องบินนั้นย่อมไม่ เหมือนกัน แต่นกพยนต์ต้องอาศัยหลักการวิทยาศาสตร์อย่างไม่ต้องสงสัย ถึงจะบินบนอากาศได้ อย่างไรก็ตามเรื่องนกพยนต์นี้ไม่อาจยืนยันได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ทั้งวงเวียนและไม้ฉากเป็นอุปกรณ์บ่งบอกถึงมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ของ จีนในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจอีกอย่างของกงซูจื่อ มีบันทึกไว้ในตำราหลี่จี้ ว่ากงซูจื่อเคนเสนอให้ใช้เครื่องกลชนิดหนึ่งส่งโลงศพเข้าไปเก็บในสุสาน แต่ผู้คนพากันคัดค้านว่ากงซูจื่อไม่ควรนำมารดาผู้อื่นมาอวดอ้างว่าตนนั้น เก่ง เราจึงเห็นได้ว่า กงซูจื่อมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี จนเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างเครื่องจักรกลได้ สมัยซ้องได้มีการพัฒนาทางด้านการใช้ถ่านหินและอุตสาหกรรมหลอมเหล็ก จีนมีอาวุธที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก การใช้ถ่านหินในเตาเผาด้วยอุณหภูมิที่พอเหมาะนับเป็นสิ่งที่ก้าวหนามากที่ สุดของประวัติศาสตร์โลก

• ด้านคณิตศาสตร์ก็ก้าวหน้าไปมาก นาฬิกาดาวที่ซูซ่งคิดขึ้นมาเมื่อปีค.ศ. 1090 เป็นการวางกฎด้านความคิดที่สำคัญ และยังชี้ให้เห็นว่านาฬิกาไขลานมิใช่เกิดจากคนตะวันตกตามที่เราเข้าใจกัน

• ด้านการแพทย์ ซ่งฉี เขียนกฎหมายแพทย์ออกมาเป็นคนแรกของโลก มีหนังสือเกี่ยวกับการรักษาโรคเด็ก การฝังเข็ม การปรุงยา ออกมามากมายในช่วงนี้ มีวัคซีนป้องกันโรคหัดตั้งแต่ค.ศ. 1014

• มีการตั้งข้อตกลงหรือสัญญาในอาชีพต่างๆ เช่น กสิกรรม การทหาร สถาปัตยกรรม หนังสือที่สำคัญที่สุดในสมัยนี้ชื่อ เม่ง จี บิ ตัน เป็นหนังสือที่ให้ความรู้หลายด้าน คนเขียนคือ เซนกัว และคณะ หนังสือเล่มนี้ทำให้เราได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเข็มแม่เหล็กเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีเรื่องการพิมพ์ การทำแผนที่แบบแสดงพื้นที่สูงต่ำ และเรื่องฟอสซิล

• การต่อเรือสมัยนี้มีการสร้างใบและพายด้วย นอกจากนี้ยังมีตัวต่อเรืออย่างดี เรือไม่มีช่องรั่วเหมือนเมื่อก่อน หางเสือได้ปรับปรุงอย่างดี มีเข็มทิศ จีนเดินเรือได้จากญี่ปุ่นลงไปถึงสุมาตรา

• วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง เนื่องจากสภาพการเมืองและสังคมเอื้ออำนวย กล่าวคือ สมัยก่อนราชวงศ์ซ้อง บ้านเมืองเป็นช่วง 5 ราชวงศ์ บ้านเมืองจึงระส่ำระส่าย ไร้เสถียรภาพทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงไม่มีทางเจริญขึ้นมาได้ ในสมัยต่อมา คือ สมัยราชวงศ์ซ้อง บ้านเมืองเริ่มเข้าที่เข้าทาง ราชสำนักต้องการทรัพย์สินเงินทองไปให้สินบนแก่ชาวต่างชาติที่อยู่อาศัยโดย รอบ ชาวจีนทุกคนจึงต้องทำมาหากินเพื่อหาเงินมาพัฒนาบ้านเมือง เศรษฐกิจจึงเจริญ และตามมาด้วยยุคเฟื่องฟูของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน

ผล ของยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฟื่องฟู

ประการแรก คือ ผลผลิตตต่างๆสมัยราชวงศ์ซ้องได้เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ราชวงศ์ซ้องแข็งแกร่งเพราะเศรษฐกิจเฟื่องฟู อันที่จริงแล้ว ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูได้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ช่วงราชวงศ์ถังตอนปลาย คือตั้งแต่ราว ค.ศ. 618 – 907 อันเนื่องมาจากรัฐบาลเน้นเรื่องการค้า ทำลายระบบถือครองที่ดิน และข้าวที่ปลูกได้ในดินแดนตะวันออกฉียงใต้มีปริมาณมากขึ้น ยุคเฟื่องฟูได้ดำเนินต่อมาจนถึงราชวงศ์ซ้อง อุตสาหกรรมถ่านหิน เหล็ก เหล็กกล้า ดินปืน เจริญขึ้นอย่างมาก จีนมีอาวุธที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากมาย ด้านการเกษตร มีการนำพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาจากอาณาจักรจามปา บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง มีการตั้งระบบควบคุมน้ำ ทำให้จีนปลูกข้าวเจ้าได้ถึงปีละสองครั้ง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเจ้ามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การปลูกฝ้ายก็แพร่ขจายไปทั่วในช่วงศต. ที่ 12 ปริมาณการบริโภคชาก็เพิ่มขึ้นทั้งจีนและดินแดนภายนอก เทคโนโลยีผลิตเครื่องปั้นดินเผาของจีนก็ก้าวหน้าที่สุดในโลก ถึงแม้การค้ากับเอเชียกลางจะมีจำกัด แต่การประดิษฐ์เข็มทิศและเทคโนโลยีต่อเรือที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก ก็ได้เป็นตัวส่งเสริมการค้าระหว่างจีนกับเอเชียและตะวันออกกลาง สินค้าส่งออกของจีนในช่วงนี้ได้แก่ ชา เครื่องหัตถศิลป์ ผ้าไหม เหรียญทองแดง เป็นต้น เครื่องถ้วยชามกระจายตัวออกไปถึงเอเชียอาคเนย์ พวกอาหรับก็นำเครื่องถ้วยชามติดเรือตนไปขายต่อทางแถวอ่าวเปอเซียและแอฟริกา ตะวันออกไกลถึงแซนซิบาร์และไคไร ส่วนสินค้าเข้าคือไม้หอม น้ำหอม เครื่องเทศ ไข่มุก และงา ปริมาณเงินในระบบมีมาก มากกว่าในสมัยถังด้วยซ้ำ ในบางพื้นที่ถึงกับเกิดการขาดเหรียญทองแดงหมุนเวียนในระบบด้วยซ้ำ ซึ่งเรียกกันว่า ช่วงขาดเงินสด (cash famines) ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้แร่เงินมากขึ้น รวมถึงเงินกระดาษ ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีเป็นเงินสดได้ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนภาษีทั้งหมด มากกว่าจะได้เป็นเมล็ดพันธุ์พืช หรือผ้า สภาพของเมืองต่างๆนั้นเจริญด้านการค้าอย่างมาก กำแพงเมืองของไคฟงและฮังโจวเปิดตลอดทั้งชั้นนอกและชั้นใน ถนนสายใหญ่ของเมืองมีร้านขายของตั้งอยู่เรียงรายดังเช่นที่เห็นอยู่ทุก วันนี้ พวกพ่อค้าให้ข้าราชการเป็นคนจัดการสถานที่ในตลาด ผู้คนกินดีอยู่ดี มีรสนิยมหรูหรา มีภัตตาคาร โรงละคร โรงเหล้า และซ่องโสเภณีเกิดขึ้นอยู่มากมาย ถนนตามเมืองต่างๆมีการละเล่นหลายอย่าง เช่น ต่อตัว เล่นกล หมากรุก ทำนายโชคชะตา แต่เมื่อการค้าเจริญ สิทธิสตรีกลับตกต่ำลง เพราะผู้ชายนั้นไม่อยากให้ผู้หญิงเข้ามาแข่งเรื่องการค้ากับตก ประเพณีมัดเท้าจึงเกิดขึ้น โดยมีสาระสำคัญว่า สตรีสูงส่งหรือสตรีชั้นสูงนั้นจะต้องมัดเท้าตั้งแต่ยังเด็ก หากใครมัดเท้า ก็จะมีผู้ชายสูงส่งมาขอแต่งงาน ลูกชาวบ้านธรรมดานั้นจะไม่มัดเท้า อิทธิพลที่เห็นได้ชัดที่สุดของช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู คือ มีเมืองที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคนปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เมืองไคฟง มีบ้านเรือน 260,000 หลังคาเรือน มีพลเมือง 1 ล้านคน ส่วนฮังโจว มีบ้านเรือน 391,000 หลังคาเรือน ทำให้ระหว่าง ค.ศ. 800 ถึง ค.ศ. 1000 จีนจึงมีประชากรถึงกว่า 100 ล้านคน ประการต่อมา การที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูก็เป็นปัจจัยทำให้สังคมจีนเปลี่ยนไปด้วย ในสมัยก่อน ผู้นำทั้งทางการเมืองและทางสังคมจะเป็นผู้มีการศึกษาที่มีประวัติความเป็นมา ของตระกูลยาวนาน ในสมัยซ้อง สิ่งนี้ไม่มีอีกต่อไป เพราะผู้นำในสมัยนี้นั้นเป็นคนในท้องถิ่น ซึ่งมีฐานะทางสังคมสูงได้เพราะพวกเขาเป็นคนที่วิริยะอุตสาหะมาก และไม่ได้ขึ้นตรงต่อรัฐบาล คนพวกนี้ร่ำรวยและมีอิทธิพลต่อสังคมนั้น พวกเขาเป็นเจ้าของที่ดิน ลงทุนค้าขาย บริจาคเงินให้วัดและโรงเรียนต่างๆ ช่วยเหลือคนที่ประสบภัยน้ำท่วมหรือภัยแล้ง สมัยซ้อง คนพวกนี้ได้รับการศึกษาและเข้าร่วมวัฒนธรรมระดับชาติ ในฐานะนักวิชาการ (literati) วัฒนธรรมซ้องใกล้ชิดกับ ทำให้ระบบขุนนางหายไป คนใกล้ชิดกับช้าราชการและนักวิชาการมากกว่าเจ้า นอกจากนี้ยังเป็นสมัยศิลปะรุ่งเรืองและมีนักคิดสำคัญอีกด้วย มีเครื่องกระเบื้องลายครามและเครื่องดินเผาที่สำคัญที่สุด มีการนำเทคนิคการผลิตต่างๆมาทำให้ได้สีและรูปทรงที่สวยงามอีกด้วย

















วัฒนธรรมด้านศิลปะการต่อสู้ของจีนกับมวยไท่จี๋





ในหลายปีที่ผ่านมานั้น ผมอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้หนึ่งที่เข้าออกประเทศจีนอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่แท้จริงแล้วประเทศจีนคือประเทศที่ผมไม่ชอบ แม้ว่าผมจะมีเชื้อสายจีนและเกิดในเกาะที่เป็นส่วนหนึ่งของจีนอย่างฮ่องกงก็ ตาม แต่ด้วยความที่ผมเติบโตภายใต้วัฒนธรรมการเลี้ยงดูแบบจีนรวมทั้งศึกษาวิชาและ ศาสตร์ต่างๆกับครูบาอาจารย์ที่ต่างก็ล้วนมอบความรู้ต่างๆให้ผมด้วยพื้นฐาน วัฒนธรรมดั้งเดิม ทำให้ผมมักไม่ชอบและมองประเทศจีนอันขาดจิตวิญญาณตั้งแต่หลังปฏิวัติวัฒนธรรม ด้วยท่าทีที่ไม่ดีนัก แต่อย่างไรก็ตามหลายปีที่ผ่านมาการได้เรียนรู้ศาสตร์และความรู้ต่างๆจากการ ได้อยู่และพักอาศัยในประเทศจีน ก็ทำให้ผมเองอดที่จะพยายามเผยแพร่และแนะนำศาสตร์วิชาต่างๆด้วยจิตสำนึกของ ชาวจีนไม่ได้ จึงได้เขียนบทความนี้ในบล็อกของผมก่อนในตอนแรกและตั้งใจจะเขียนยาวต่อเนื่อง แต่ตอนนี้เนื่องจากมีเว็บขึ้นมาก็ได้ตัดตอนและรวมบทความเข้าเป็นเนื้อหา เดียวพร้อมกับเพิ่มเนื้อหาเล็กน้อย เพื่อแนะนำทั่วๆไปถึงศิลปะการต่อสู้จีนกับมวยไท่จี๋เพื่อความเข้าใจเป็นพื้น ฐานไปในคราวเดียว

จงกว๋ออู่ซู่ หรือศิลปะการต่อสู้ของจีน

จริงๆแล้ว คำว่าจงกว๋ออู่ซู่ซึ่งหมายถึงศิลปะการจีนในปัจจุบันนั้น เป็นคำที่สร้างขึ้นมาใหม่ ในยุคสมัยหมินกว๋อหรือยุคการปกครองก่อนเหมาเจ๋อตุงนั้นศิลปะการต่อสู้ได้ถูก เรียกว่ากว๋อซู่อีกด้วย แม้บ่อยครั้งคำว่าอู่ซู่จะ ถูกอ้างถึงศิลปะการร่ายรำท่ามวยแบบสวยงามหรือวูซูแบบสมัยใหม่ แต่อย่างไรก็ตามคำนี้ได้ถูกยกขึ้นมาใช้อย่างกว้างขวาง และมันยังรวมความหมายถึงศิลปะการต่อสู้ของจีนทั้งหมดอีกด้วย ดังนั้นจงกว๋ออู่ซู่จึงหมายถึงศิลปะการต่อสู้ของจีนนั่นเอง

จงกว๋ออู่ซู่ หรือศิลปะการต่อสู้ของจีนนั้นคือศิลปะการต่อสู้แขนง หนึ่ง ซึ่งได้กำเนิด เติบโต และพัฒนาขึ้นมาจากวัฒนธรรมพื้นฐานของชาวจีน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมการใช้ชีวิต และวัฒนธรรมเชิงปรัชญา, ศาสนา และความเชื่อ ซึ่งภายใต้แผ่นดินที่กว้างใหญ่ของจีนเองบางครั้งก็มีความขัดแย้งแตกต่าง ระหว่างวิชามวยกันเองจนแบ่งเป็นฝักฝ่ายกันอยู่มาก เช่นฝ่ายเหนือ-ฝ่ายใต้(หนานพ่าย-เป่ยพ่าย), ฝ่ายภายนอก-ภายใน(เน่ยเจีย-ไว่เจีย) ทำให้บ่อยครั้งการคุยกันในวิชามวยก็เหมือนแตกต่างกันคนละภาษา แต่เมื่อมองภาพรวมทั้งหมดอาจจะกล่าวได้ว่ามวยจีนก็เหมือนภาษาจีนเอง ที่แม้ต่างสำเนียงต่างท้องถิ่นต่างมลฑล แต่ก็ยังเป็นภาษาเดียวกัน และเต็มเปี่ยมไปด้วยความเป็นชาวจีนในภาษาเดียวกันนี้เอง แม้ต่างมาจากคนละที่แต่หากมีความรักใคร่ชอบพอ มีมิตรภาพไมตรีต่อกัน ย่อมส่งสำเนียงพูดคุยกันได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

มวยไท่จี๋คือศิลปะการต่อสู้และวัฒนธรรมจีน

มวยไท่จี๋ หรือไท่จี๋เฉวียน หรือ ไท่เก๊ก ตามสำเนียงกวางตุ้งและแต้จิ๋ว คือศิลปะการต่อสู้อันตกผลึกจากวัฒนธรรมเชิงปรัชญาอย่างหนึ่ง เป็นศาสตร์วิชาที่ได้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน, โอนอ่อนผ่อนตาม และความสงบไม่ก้าวร้าว ตามหลักปรัชญาเต๋า ถือเป็นหัวใจหลักและภาพลักษณ์ที่ดีงามของชาวจีน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มวยไท่จี๋ได้รับการยอมรับในวงกว้างจนเป็นหนึ่งใน ตัวแทนวิชาอู่ซู่ของจีน หากพูดถึงว่ามวยที่ได้รับการยอมรับและแพร่หลายมากที่สุดของจีนก็คงไม่พ้นมวย ไท่จี๋นี่เอง มวยไท่จี๋คือศิลปะการต่อสู้ที่ได้นำเอาหลักวิชาปรัชญาของอี้จิงและเต๋ามาสู่ การใช้งานในการต่อสู้ ทั้งหลอมรวมแนวคิดเรื่องการพัฒนาร่างกายและใจจิตใจมีความแข็งแรงและเข้มแข็ง เพื่อพัฒนากำลังของคนในชาติตามอย่างแนวคิดของวิชาการต่อสู้ของจีนหรือจงกว๋อ อู่ซู่ มวยไท่จี๋จึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในศาสตร์วิชาที่เป็นตัวแทนหนึ่งอันเป็นจิต วิญญาณทางด้านวัฒนธรรมจีนและศิลปะการต่อสู้ของจีนได้อย่างน่าภูมิใจ และแม้ว่ามันจะเป็นศาสตร์วิชาของจีนแต่วิชาที่ดีต้องมีความเป็นสากลและเข้า ถึงคนทุกผู้ทุกชนชั้นโดยไม่แบ่งชาย หญิง เด็ก แก่ ซึ่งมวยไท่จี๋นั้นไม่เพียงแต่ได้รับการยอมรับจากชาวจีนเท่านั้น แต่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างในระดับโลกโดยไม่แบ่งผู้คนหรือชนชาติ ทุกคนต่างสามารถซึมซับและรับเอาผลในการใช้งาน, สุขภาพที่แข็งแรงจากการฝึก รวมถึงสามารถซึมซับรับเอาความดีงาม, ความเข้มแข็ง, หลักแห่งการครองตน, และจิตวิญญาณของวิชาจากการฝึกมวยไท่จี๋ได้ทั้งสิ้น ดังนั้นมวยไท่จี๋จึงสมควรต่อการศึกษาไม่เพียงแต่ชาวจีนเท่านั้น แต่ยังสมควรต่อการศึกษาของทุกผู้คนในโลกด้วย













ศิลปของจีน

ศิลปะการวาดภาพของจีน



ศิลปะการวาดภาพของจีนมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับศิลปะการเขียนอักษร ในสมัยโบราณจิตรกรจะต้องฝึกฝนศิลปะการเขียนอักษรอย่างจริงจัง ส่วนนักเขียนอักษรก็มักมีประสบการณ์ในการวาดภาพ ศิลปะทั้งสองแขนงจะต้องเคียงกันในงานแต่ละชิ้น ชาวจีนถือว่าอักษรเป็นเครื่องมือในการสืบทอดวัฒนธรรม และความสมารถในเขิงอักษรศาสตร์ยังช่วยส่งบุคคลให้ ก้าวสู่สถานภาพทางสังคมที่สูงยิ่งขึ้น แม้จะมีภาษาถิ่นที่หลากหลาย แต่ภาษาเขียนกลับมีเพียงหนึ่งเดียว ภาษาเขียนซึ่งมีเอกภาพและเป็นเครื่องมือสืบทอดประวัติศาสตร์นี้ จึงมีความสำคัญกว่าภาษาพูด



ภาพฝีมือตัดกระดาษของจีน

ในช่วงวันตรุษจีน ในเขตชนบทท้องถิ่นต่างๆของจีนล้วนมีประเพณีปิดภาพฝีมือตัดกระดาษไว้บน หน้าต่าง ประตู หรือโต๊ะหนังสือเป็นต้น เพื่อสร้างบรรยากาศวันงานเทศกาลให้คึกคื้น

ภาพฝีมือตัดกระดาษเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองที่แพร่หลายกว้างขวางที่สุดใน จีนชนิดหนึ่ง ปัจจุบัน เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่า ที่ใดเป็นแหล่งต้นกำเนิดของภาพฝีมือตัดกระดาษ มีการเล่าลืออยู่อย่างหนึ่งว่า ภาพฝีมือตัดกระดาษมาจากพิธีศาสนาและพิธีเซ่นไหว้ในสมัยโบราณ คนโบราณใช้กระดาษตัดเป็นรูปสัตว์ และรูปมนุษย์ แล้วเอาไปฝังร่วมกับผู้ตายหรือเอาไปเผาในงานศพ หวังว่า สิ่งของในภาพฝีมือตัดกระดาษเหล่านี้จะเป็นเครื่องสังเวยที่จะอยู่คู่ไปกับ ผู้ตาย แต่ว่า เมื่อถึง1000ปีก่อน ภาพฝีมือตัดกระดาษกลายเป็นว่า ถูกนำไปใช้ในการประดับหรือตกแต่งเสียส่วนมาก ผู้หญิงในสมัยราชวงศ์ถังก็เคยใช้ภาพฝีมือตัดกระดาษทำเป็นเครื่องประดับศีรษะ และมีประเพณีตัดกระดาษเป็นรูปผีเสื้อต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ถึงสมัยราชวงศ์ซ่งในศตวรรษที่12 มีคนใช้ภาพฝีมือตัดกระดาษตกแต่งของขวัญ หรือปิดไว้บนหน้าต่าง ประตู ผนัง กระจกและโคมไฟเป็นต้น และเริ่มปรากฏช่างตัดกระดาษมืออาชีพขึ้น



ภาพฝีมือตัดกระดาษจะทำด้วยมือทั้งหมด หากเป็นผู้สมัครเล่น มีกรรไกรอันหนึ่งและกระดาษแผ่นหนึ่งก็สามารถฝึกหัดฝีมือตัดกระดาษเป็นศิลป หัตถกรรมได้ ส่วนผู้ที่เป็นช่างมืออาชีพ ก็ต้องการกรรไกรและมีดขนาดต่างๆหลายสิบเล่ม และสามารถตัดกระดาษแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นด้วยกัน หากเป็นภาพลายที่ง่ายๆ ก็ตัดได้ทันที ถ้าเป็นภาพที่สลับซับซ้อน มักจะพิมพ์ตัวอย่างไว้บนกระดาษ แล้วเลือกเอากรรไกรและมีดจากหลายสิบเล่มลงมือตัดกรอบภาพก่อน ซึ่งจะผิดแม้แต่นิดเดียวก็ไม่ได้ เพราะถ้าผิดส่วนใดส่วนหนึ่งก็จะมีผลทำให้ส่วนที่เหลือใช้ไม่ได้ ภาพฝีมือตัดกระดาษจะมีเนื้อหาหลากหลาย มีทั้งดอกไม้วิหคนกน้อย ปลา สัตว์ขนาดเล็ก บุคคลในนิทานที่เล่าลืบกันมาในพื้นเมืองหรือบุคคลในหนังสือวรรณคดีสมัยโบราณ หน้ากากงิ้วปักกิ่งเป็นต้น อะไรก็ได้ เพราะความเคยชินในชีวิตประชาชนและรสนิยมในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศจะแตกต่างกัน ภาพฝีมือตัดกระดาษจึงมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ทางภาคเหนือจะมีลักษณะออกไปทางเข้มแข็งมีพลังและมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนทางภาคใต้ จะมีลักษณะละเอียดประณีต และสวยงาม แต่ไม่ว่า เนื้อหาอะไร ก็ต้องพิถีพิถันและสมจริงมีชีวิตชีวา ในอดีต ชนบทของจีน พอถึงช่วงเวลานอกฤดูกาลทำนา บรรดาผู้หญิงมักจะนั่งล้อมวงตัดกระดาษ นับว่าเป็นฝีมือศิลปหัตถกรรมชนิดหนึ่งของผู้หญิงทุกคน แต่พร้อม ๆ กับวิวัฒนการทางสังคมที่ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ผู้ที่สนใจฝีมือตัดกระดาษนับวันน้อยลง แต่ยังคงมีคนส่วนน้อยที่ประกอบอาชีพตัดกระดาษเช่นเดิม ปัจจุบัน จีนมีโรงงานผลิตภาพตัดกระดาษ และมีสมาคมศิลปะฝีมือตัดกระดาษแห่งชาติ จัดการแสดงและกิจกรรมแลกเปลี่ยนเป็นประจำ และนำเอาภาพกระดาษชิ้นยอดเยี่ยมไปพิมพ์เป็นหนังสือหัตถกรรมศิลป์ ศิลปะด้านอื่น ๆ ก็มักจะใช้ลีลาแบบภาพตัดกระดาษทำเป็นภาพประกอบตกแต่ง เช่นในหน้าปกหนังสือภาพสำหรับเด็ก ภาพศิลปะสำหรับแต่งเวทีแสดง การพาดหัวหนังสือพิมพ์ ภาพศิลปะทั้งภาพยนตร์และโทรทัศน์เป็นต้น ก็ล้วนได้เห็นศิลปะจากภาพฝีมือตัดกระดาษไม่น้อยทีเดียว

รูปแบบของงานศิลปะกระดาษตัดจากต่างท้อง ถิ่น

จากเทคนิควิธีการทำดังกล่าวกระดาษตัดจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่า "กระดาษแกะ" หรือ "กระดาษตัดลาย" หรือ "ลายประดับหน้าต่าง" ศิลปะการตัดกระดาษแบ่งเป็น ๒ ชนิดใหญ่ๆ คือ กระดาษตัดสีเดียว ส่วนมากมักให้กระดาษสีแดงเป็นหลัก อีกชนิดหนึ่งคือกระดาษตัดย้อมสี คือใช้สีหลากสีแต่งเติมขึ้นให้เกิดสีสันสวยงาม ศิลปะกระดาษตัดของจีนมีรูปแบบสีสันหลากหลาย กระดาษตัดทางภาคเหนือมีลักษณะเด่นคือ หยาบ เรียบง่ายแต่ชัดเจน ได้แก่ ภาพกระดาษตัดของอำเภอเว่ย มณฑลเหอเป่ย ภาพกระดาษตัดอำเภอเชียนหยาง มณฑลส่านซี กระดาษตัดของอำเภอจิ้งเล่อ มณฑลซานซี และอำเภอเผิงหลาย มณฑลซานตุง ส่วนกระดาษตัดของทางใต้จะเน้นด้านความสวยงามและความละเอียดลออและด้านความ หมาย ได้แก่ ภาพกระดาษตัดของฝอซาน มณฑลกวางตุ้ง กระดาษตัดของอำเภอพี มณฑลเจียงซู กระดาษตัดของจ้างโจว มณฑลฮกเกี้ยน และกระดาษตัดที่มีประวัติอันยาวนานของอำเภออวี้ มณฑลเหอเป่ย

งิ้ว(อุปรากร จีน)



งิ้ว เป็นอุปรากรจีนที่แสดงศิลปะประจำชาติที่พัฒนามาหลายร้อยปี มีรูปแบบและลีลาการแสดงที่เป็นแบบแผนและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน งิ้วสามารถจำแนกตามลีลาที่แตกต่างกันของเครื่องดนตรีและภาษาท้องถิ่นซึ่งมี มากกว่าร้อยชนิด

อุปรากรปักกิ่งเป็นแบบฉบับมาตรฐานของการแสดงอุปรากรจีนเนื่องจากมีการใช้ ภาษาราชการมีการพัฒนาการด้านการแสดงอย่างมีระเบียบ อีกทั้งเป็นที่นิยมของขุนนาง ข้าราชการชั้นสูง ดังนั้นอุปรากรของปักกิ่งจึงเป็นตัวแทนของศิลปะและวัฒธรรมด้านการแสดงของจีน อุปรากรของจีนเน้นการแสดงศิลปะ 5 ลักษณะ ได้แก่

- การแสดงดนตรี

- การขับร้อง

- การแสดงระบำ และนาฏลีลา

- การแสดงอารมณ์และท่าทาง

- การแสดงศิลปะการสู้รบป้องกันตัวและกายกรรม

ศิลปะของชาวจีนตั้งแต่อดีตกาลนั้น ไม่เน้นการแสดงศิลปะรูปแบบเดียวแต่จะเน้นไปในด้านการผสมผสานศิลปะร่วมกัน เช่น การขับร้องจะต้องมีระบำหรือนาฏลีลาประกอบพร้อมกับการบรรเลงดนตรี การระบำรำฟ้อนต่างๆ มักมีการขับร้องและบรรเลงดนตรีควบคู่กันไป เป็นต้น ซึ่งมีความแตกต่างกับศิลปะตะวันตกเป็นอย่างมาก อุปรากรจีนเป็นศิลปะชั้นสูงที่มีแบบแผนประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นักแสดงต้องผ่านการฝึกฝนตั้งแต่เยาว์วัย ในสมัยโบราณอุปรากรกรจีนแสดงร่วมกันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง มีพระราชโองการห้ามผู้หญิงแสดงร่วมกับผู้ชาย คณะอุปรากรจีนจึงต้องแสดงเป็นเพศตรงข้าม โดย ผู้หญิงแสดงแทนผู้ชาย ผู้ชายแสดงแทนผู้หญิงมาจนกระทั่ง 200 ปี จึงทำให้เกิดศิลปินที่มีชื่อเสียง คือ เหม่ หลานฟัง ซึ่งเป็นนักแสดงชายที่สามารถแสดงเป็นหญิงได้อย่างยอดเยี่ยมจนได้รับการ ยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ศิลปะการฝึกผู้ชายให้สวมบทบาทผู้หญิง แต่ในปัจจุบันก็นิยมใช้ผู้แสดงแบบชายจริงหญิงแท้

ตัวละครแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. ตัวละครชาย "เชิง (Sheng)" ตัวละครฝ่ายชายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ "บู๊" ผู้แสดงต้องแสดงบทโลดโผน ส่วน "บุ๋น" เน้นการขับร้องและการแสดงอารมณ์

2. ตัวละครหญิง "ตั้น (Dun)"

3. ตัวละครวาด "จิ้ง (Jing)" เป็นตัวละครที่แต่งหน้าด้วยลวดลายสีสันต่างๆ ซึ่งบ่งบอกถึงนิสัยของตัวละคร ผู้แสดงต้องมีหน้าผากที่กว้าง รูปร่างสูงใหญ่ น้ำเสียงกังวาน

4. ตัวละครตลก "โฉ่ว (Chou)" แบ่งออกเป็นตลกแบบบุ๋น เช่น ยาม คนรับใช้ คนตัดไม้ เป็นต้น ส่วนตัวตลกแบบบู๊ ต้องแสดงเกี่ยวกับกายกรรม เช่น พลทหาร















โบราณวัตถุของจีน

ตุ๊กตา ทหารดินเผา

ตุ๊กตาทหารดินเผาทุกตัวจะมีตราประทับอักษรบนตัวมากกว่า 80 ชื่อ ทำให้นักโบราณคดีจีนมั่นใจว่าผู้ที่สร้างหุ่นทหารดินเผาทั้งหมด เป็นบรรดาช่างปั้นหม้อ ในสังคมสมัยฉิน ถือว่าพวกนี้เป็นพวกชั้นต่ำ บางพวกเคยทำงานรับใช้ในราชสำนัก ช่างปั้นดินเผาในสมัยจีนโบราณที่สืบทอดวิชาความรู้จากครูหรือบรรพบุรุษ มีเอกลักษณ์งานปั้นเฉพาะตัว รับคำสั่งเกณฑ์พลจากทุกแห่งเพื่อสร้างกองทัพทหารดินเผา ทหารดินเผาที่ขุดพบได้นั้นมีลักษณะใบหน้าที่มองดูแล้วกลมเกือบคล้ายกัน บางหน้าเป็นรูปไข่ บางหน้าเป็นรูปเหลี่ยม ซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเทคนิคของช่างแต่ละคน มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน เช่นแผนกช่างนวดดิน ช่างปั้น ช่างทำพิมพ์ สำหรับอวัยวะต่าง ๆ เช่น มือ แขน ขา ศีรษะ เป็นหน้าที่ของช่างขึ้นรูป ที่ทำการปั้นขึ้นรูปศีรษะเป็นรูป ๆ ทำให้ใบหน้าแต่ละหน้าจึงไม่ซ้ำกัน ซึ่งอาจจะเป็นการจำลองจากบุคลิกของทหารจริงในเวลานั้นส่วนมากใบหน้าของกองทัพทหารดินเผามีสัณฐานสี่เหลี่ยม ริมฝีปากหนา ไว้หนวดเคราทรงผมนานาชนิด แล้วเอาส่วนต่าง ๆ มาประกอบเข้ากัน นำไปเผาไฟแล้วส่งต่อไปให้ช่างสีซึ่งใช้ฝุ่นสีฉูดฉาดเช่น สีแดง เขียว ฟ้า น้ำตาล เหลือง ดำ ม่วง น้ำเงิน ขาว มาระบายลงบนตัวทหารดินเผา แยกสีตามเหล่าทหารแต่ละกอง สำหรับการปั้นม้าจะแยกชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามลักษณะของม้า ก่อนนำมาประกอบเข้าเป็นลำตัวที่กลวง ส่วนอื่นจะทึบตันหมด แล้วจึงเข้าเตาเผาไฟที่มีความร้อนสูงระหว่าง 950 ถึง 1,050 องศา เทคนิคงานปั้นดินเผาของจีนเริ่มมานานกว่า 2,000 ปี จนถึงปัจจุบันวิธีเก่าแก่นี้ก็ยังคงใช้อยู่ทั่วโลก กองทัพทหารดินเผาทุกตัวเคยถืออาวุธจริงแต่ได้โดนยึดไปโดยพวกกบฏเป็นจำนวน มาก คงหลงเหลือกว่า 10,000 ชิ้น อาวุธส่วนมากสร้างขึ้นจากโลหะผสมทองแดงและดีบุก รวมทั้งนิกเกิลและสังกะสี ฝีมือประณีตโดยเฉพาะหัวลูกธนูจะผสมตะกั่วเท่ากับเป็นการอาบยาพิษอย่างแรง แต่ทั้งหมดได้รับการปลดออกมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นการสะท้อนให้ เห็นถึงความก้าวหน้าทางทหาร และเทคโนโลยี จากการขุดค้นพบกองทัพทหารดินเผาและม้าศึกจำนวนกว่า 6,000 ตัว คาดว่าเมื่อรวมกับจำนวนของทหารดินเผาที่ยังไม่ได้ขุดค้น อาจมีประติมากรรมอันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกมากถึง 8,000 ตัว กองทัพทหารดินเผาที่ขุดค้นพบทั้ง 3 หลุมนี้ ในแต่ละหลุมจะแยกจากกันอย่างมีแบบแผน มีการฝังลึกลงไปจากผิวดินในระยะทางประมาณ 5 เมตร มีแนวกำแพงดินพูนสูงราว 3 เมตร แยกจากกันเป็นช่วง ๆ ค้ำยันด้วยท่อนซุง โดยรายละเอียดต่าง ๆ ของกองทัพทหาร









ขบวน รถม้าสำริด

นอกจากการขุดพบกองทัพทหารดินเผาจำนวนมากแล้ว รัฐบาลจีนยังขุดพบโลงไม้ ยาว 7 เมตร กว้าง 2.3 เมตร ฝังอยู่ใต้พื้นดิน ห่างจากสุสานฉินชื่อหวงไปทางทิศตะวันตกราว 20 เมตร และเมื่อนำขึ้นมาเปิดฝาโลงออกก็พบกับขบวนรถม้าสำริดจำลองของฉินชื่อหวง ฝีมือประณีตสวยงาม ใช้เทคนิคงานโลหะผสม สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นรถม้าประจำพระองค์ในภพหน้า ปัจจุบันรถม้าสำริดที่ถูกขุดค้นพบ จัดแสดงไว้ในอาคารอีกหลังหนึ่งในบริเวณพิพิธภัณฑ์ กองทัพทหหารดินเผาประกอบด้วยรถม้าส่วนพระองค์ รถเทียมม้าบุกนำทาง มีองค์รักษ์ทำหน้าที่พลขับรถม้าบุกนำทาง มีความยาว 1.26 เมตร กว้าง 70 เซนติเมตร กั้นร่มคลุมแทนหลังคา ติดอาวุธพร้อม มีอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ขนาดเล็กรวมทั้งหมดราว 3,064 ชิ้น ส่วนรถม้าส่วนพระองค์จำลองของฉินชื่อหวง มีความยาว 3.17 เมตร กว้าง 1.06 เมตร รูปทรงสี่เหลี่ยม คลุมด้วยหลังคารูปไข่ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นตัวรถม้าส่วนพระองค์จำลองรวม 3,462 ชิ้น ประดับด้วยทองคำและเงินจำนวนมากกว่า 1,000 ชิ้น นอกจากนี้ ยังมีเส้นทองแดงขดเป็นโซ่ขนาดเล็ก ขนาดเพียง 0.05 เซนติเมตร อยู่ภายใน รถม้าทั้งสองคันเทียมด้วยม้าสำริดคันละ 4 ตัว แต่งเครื่องทรงเต็มยศ องครักษ์ สูง 51 เซนติเมตร แต่งเครื่องแบบเต็มยศเช่นกัน นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดอีกชิ้นหนึ่งที่ได้เคยค้นพบใน ประเทศจีน เป็นการลบภาพความเชื่อเดิม ๆ ที่ว่า ยุคทองของเครื่องสำริดได้หมด ไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเหล็กได้เข้ามามีบทบาทแทนที่จนถึงสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น ที่ช่างสำริดได้สูญหายไปหมดแล้ว จากรูปสำริดเหล่านี้ นักโบราณคดีจีนสามารถจินตนาการขบวนรถม้าส่วนพระองค์ของจริงที่ฉินชื่อหวงทรง ใช้ประทับแรมระหว่างเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย















เครื่องถ้วยวัตถุโบราณจีน















เครื่องถ้วย เป็นหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในทางการศึกษาได้ทั้งทางด้าน ศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนความเชื่อต่างๆทั้งในทวีปยุโรปและเอเชีย ซึ่งรวมทั้งเครื่องสังคโลกของไทยด้วย เครื่องถ้วยจีนเป็นเครื่องถ้วยที่มีรูปทรงและลวดลายที่สวยงามแปลกตาเป็น เอกลักษณ์ของตนเองและมีคุณภาพสูงกว่าเครื่องถ้วยอื่นๆทั่วไป จึงทำให้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากลูกค้าทั่วทุกมุมโลก สำหรับในประเทศไทยจากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ได้พบเครื่องถ้วยจีนกระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งโบราณคดีที่เคยเป็นเมืองท่าค้า ขายและเมืองสำคัญต่างๆทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เครื่องถ้วยที่พบแบ่งออกกว้างๆ ได้เป็น ๖ สมัย คือ

๑. ปลายสมัยราชวงศ์ถัง-สมัยห้าราชวงศ์ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - พ.ศ.๑๕๐๓)

๒. สมัยราชวงศ์ซุ่งภาคเหนือ (พ.ศ.๑๕๐๓ – ๑๖๗๐)

๓. สมัยราชวงศ์ซุ่งภาคใต้ (พ.ศ.๑๖๗๐ – ๑๘๒๒)

๔. สมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.๑๘๒๒ – ๑๙๑๑)

๕. สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๓๑๑ – ๒๑๘๗)

๖. สมัยราชวงศ์ชิง (พ.ศ.๒๑๘๗ – ๒๔๕๔)

เครื่องถ้วยจีนที่มีความสำคัญที่สุดกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ เครื่องถ้วยประเภทเขียนสีน้ำเงิน หรือสีครามใต้เคลือบ เรียกกันโดยทั่วไปว่าเครื่องลายคราม ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องลายครามจีนมักได้รับการกำหนดอายุไว้ โดยอาศัยการศึกษาเทียบเคียงทางด้านรูปทรง ลวดลาย เนื้อดิน น้ำเคลือบตลอดจน เทคนิคในการผลิต นอกจากนั้นเครื่องลายครามหลายชิ้นยังมีการจารึกสมัยหรือปีรัชกาลที่ผลิตขึ้น ซึ่งทำให้เราสามารถกำหนดอายุเครื่องถ้วยลายครามประเภทต่างๆได้อย่างค่อนข้าง แน่นอน



กว่าเครื่องถ้วยประเภทอื่นๆ การกำหนดอายุแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน หรือโบราณวัตถุ ที่ขุดค้นได้ ในทางโบราณคดีนอกจากจะใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์แล้วเรายังต้องอาศัยเครื่องลาย ครามจีนมาช่วยพิจารณาเพื่อให้ได้ค่าอายุสมัยที่แน่นอนในอีกทางหนึ่งด้วยใน กรณีที่พบโบราณวัตถุและเครื่องลายครามนั้นร่วมอยู่ด้วยกัน

เครื่องลายครามเริ่มมีการผลิตเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์หยวนของจีนหรือ ประมาณปลายพระพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญที่เมืองจิ่งเต๋อจิ้น มณฑลเจียงซี เครื่องลายครามจีนสมัยราชวงศ์หยวนที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะพบในแหล่งชุมชนโบราณที่มีอายุในสมัยสุโขทัย ล้านนา และอยุธยาตอนต้น ในระยะแรกๆ นั้น เครื่องลายครามคงถือเป็นของหายากและมีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากการที่มีการนำเอาเครื่องลายครามมาบรรจุลงในกรุเจดีย์หรือพระ ปรางค์ร่วมกับทรัพย์สินเงินทองและสิ่งของมีค่าอื่นๆ ตามคติความเชื่อในเรื่องของการถวายสิ่งของมีค่าเพื่อเป็นพุทธบูชา เช่นที่พบในกรุเจดีย์วัดพรายหลวง จังหวัดสุโขทัย ที่เวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ ที่วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน และที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ซึ่งเชื่อกันว่าเครื่องลายครามดังกล่าวถูกส่งเข้ามาเป็นเครื่องบรรณาการ แด่ผู้ที่มีอำนาจในดินแดนเหล่านั้น และการใช้เครื่องลายครามในสมัยนั้นคงจะจำกัดอยู่เฉพาะพวกชนชั้นปกครองหรือ คหบดีผู้มั่งคั่ง มากกว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ประจำวันสำหรับสามัญชนทั่วไป ถ้วยลายครามด้านนอกเขียนลายรูปม้าและลายเมฆไฟ เขียนด้วยสีครามใต้เคลือบ ขอบปากเขียนเป็นรูปกากบาทเป็นแนว ภายในสี่เหลี่ยมด้านขนาน ถ้วยแบบนี้เป็นพวกสินค้าส่งออกแบบหนึ่งที่ส่งมา จำหน่ายทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (สังเกต เครื่องหมายที่ก้นถ้วยซึ่งเป็น "เครื่องหมายของร้านค้า" ที่เขียนอยู่กันเครื่องถ้วยที่ส่งออกมาขายภายนอกประเทศ หรือที่เรียกว่า "เอ็กซ์พอร์ตแวร์" (export ware)













ถ้วยลายครามเขียนลวดลายเล่าเรื่องขบวนขุนนาง ผู้ใหญ่ฝ่ายปกครอง ผู้ติดตามโดยมีพลโคมนำหน้า ก้นถ้วยด้านในเขียนเป็นรูปราชบัณฑิตฝ่ายบุ๋นอยู่ภายในธรรมชาติ ก้นถ้วยด้านนอกเขียนเป็นตัวอักษร ภาษาจีนจำนวน 4 ตัว

























โบราณสถานของจีน

กลุ่มโบราณสถานพระราชวังโปตาลา ในลาซา

เนื่องจากลาซานั้นเป็นเมืองหลวงของวัฒนธรรม โดยมีองค์ทะไลลามะเป็นผู้นำของพุทธศาสนาแบบทิเบต ลาซาจึงสามารถพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองในแบบวัฒนธรรมของตน

กลุ่มโบราณสถานพระราชวังโปตาลาในลาซา *











พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง

พระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง (จีนตัวเต็ม: 北京及瀋陽的明清皇家宮殿) คือพระราชวังขนาดใหญ่สองแห่งที่ได้ร่วมกันจดทะเบียนเป็นมรดกโลก พระราชวังต้องห้ามได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 11 เมื่อปี พ.ศ. 2530 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมาในปี พ.ศ. 2547 พระราชวังเฉิ่นหยาง พระราชวังพักตากอากาศของจักรพรรดิ แห่งราชวงศ์ชิง ได้ลงทะเบียนร่วมกับพระราชวังต้องห้ามภายใต้ชื่อ "พระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง"



พระราชวัง แห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง *





กำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม: 長城; จีนตัวย่อ: 长城; พินอิน: Chángchéng ฉางเฉิง) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้และ เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หชิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมือง จีนได้สำเร็จ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม: 萬里長城; จีนตัวย่อ: 万里长城; พินอิน: Wànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) กำแพงเมืองจีนมีความยาวทั้งหมดถึง 6,350 กิโลเมตร และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้[1] กำแพงเมืองจีนสร้างเมื่อ2000 ปีมาแล้ว รู้ไมว่าตั้งแต่สมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยกษัตริย์องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่ เคยมีมา

กำแพง เมืองจีน *









เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักร โกคูรยอโบราณ

เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโกคูรยอโบราณ (จีนตัวย่อ: 高句丽王城、王陵及贵族墓葬) คือแหล่งมรดกโลกที่ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดีในเมือง 3 เมือง ได้แก่ เมืองอู๋หนิ่ว ในมณฑลเหลียวหนิง เมืองกั๋วเน่ย (กุกแนซง - ตามภาษาเกาหลี) และหวันตู (ฮวันโด - ตามภาษาเกาหลี) ในมณฑลจี๋หลิน และสุสานอีก 40 แห่ง ซึ่งเป็นของราชวงศ์ 14 แห่ง และขุนนาง 26 แห่ง ทั้งหมดแสดงถึงร่องรอยวัฒนธรรมโกคูรยซึ่งได้มีอำนาจเหนือบางส่วนของภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือของจีนและคาบสมุทรเกาหลีในช่วง 277 ปีก่อน ค.ศ. จนถึง ปี ค.ศ. ที่ 668

แหล่งโบราณคดีในเมืองอู๋หนิ่วได้ทำการขุดค้นไปเพียงเล็กน้อย ส่วนเมืองกั๋วเน่ย ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองจี๋หนิงในปัจจุบันนั้นได้ ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงรอง หลังจากเมืองหลวงของโกคูรยอได้ย้ายไปตั้งที่กรุงเปียงยาง และสำหรับเมืองหวันตู หนึ่งในเมืองหลวงของอาณาจักรโกคูรยอนั้น ได้มีร่องรอยของพระราชวังและสุสานจำนวนกว่า 37 แห่ง

เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโกคูรยอโบราณ *





ไคผิงเตียวโหลวและหมู่บ้าน

ไคผิงเตียวโหลวและหมู่บ้าน (จีนตัวเต็ม: 開平碉樓与村落; จีนตัวย่อ: 开平碉楼与村落) คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเมืองไคผิง และเมืองใกล้เคียง ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เป็นหอสูงหลายชั้นสร้างจากคอนกรีตเสริมแรง ซึ่งในปัจจุบันมีตัวหอเหลืออยู่ในเมืองไคผิงประมาณ 1,833 หอ และประมาณ 500 หอในเมืองไถซาน

งานก่อสร้างหอนั้นมีมาตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์หมิง วัถุประสงค์เพื่อต่อต้านของผู้รุกรานซึ่งก็คือชาวจีนแคะ แต่ยุคทองของการสร้างหอคอยดังกล่าวนี้เริ่มในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อชาวจีนจำนวนมากเริ่มอพยพไปตั้งรกรากทางฝั่งตะวันตกของอเมริกาในยุคตื่นทอง โดยไปทำงานเป็นคนงานในเหมืองหรือก่อสร้างทางรถไฟ แต่เมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงประมาณก่อนสงครามโลก ชาวจีนส่วนหนึ่งได้เดินทางกลับบ้าน และอีกส่วนหนึ่งได้ส่งเงินกลับ พวกเขาจึงซื้อที่ดินแล้วสร้างอาคารแปลกตาตามสถาปัตยกรรมที่เขาได้พบเห็นใน ต่างประเทศผสานกับสถาปัตยกรรมจีน ในช่วงที่มีการก่อสร้างมากสุดคือตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ถึง ปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) มีการสร้างหอถึง 1,648 หอ คิดเป็นเกือบร้อยละ 90 ของจำนวนหอทั้งหมด

ไคผิงเตียวโหลวและหมู่บ้าน *







หอสักการะฟ้าเทียนถัน

หอสักการะฟ้าเทียนถัน (จีนตัวย่อ: 天坛; จีนตัวเต็ม: 天壇; พินอิน: Tiāntán ภาษาแมนจู: Abkai mukdehun) ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เมื่อปี พ.ศ. 1963 (ค.ศ. 1420) โดยมีชื่อว่า เทียนตี้ถัน แปลว่า หอแผ่นดินและฟ้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2077 (ค.ศ. 1534) ได้มีการสร้างหอสักการะ ตี้ ถัน ขึ้น ชื่อของหอนี้จึงกลายมาเป็นเทียนถันอย่างเดียว เมื่อปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) ฟ้าผ่าลงมาบนหอเสียหาย และได้มีการสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906)

ตัวหอมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 32.5 เมตร และ สูง 38 เมตร โดยมิได้ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว

หอฟ้าเทียนถันได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)

หอ สักการะฟ้าของจักรพรรดิแห่งกรุงปักกิ่งเทียนถัน *









งานแกะสลักหินต้าสู

งานสลักหินต้าสู (จีน: 大足石刻; พินอิน: Dàzú Shíkè, ต้าสูสือเค่อ) คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเขตนครฉงชิ่ง ประเทศจีน เด่นในความงดงามของงานแกะสลักทั้งทางพุทธศาสนา ขงจื๊อ เต๋า และชีวิตผู้คนบนผาแคบๆ ที่เริ่มแกะเรื่อยมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13

งานแกะสลักหินต้าสู *









ผิงเหยา

เมืองเก่าผิงเหยา (平遥古城 ผิงเหยากู้ฉาง Ping Yao) เป็นเมืองหนึ่งในมณฑลชานซี อยู่ห่างจากกรุงปักกิ่งประมาณ 715 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองไท่หยวน เมืองเอกของมณฑล 80 กิโลเมตร ในสมัยราชวงศ์ชิง ผิงเหยาเป็นศูนย์กลางทางการเงินของจีน มีชื่อเสียงมาจากกำแพงเมืองโบราณที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี และได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก

ความ สำคัญทางประวัติศาสตร์

ผิงเหยายังคงมีโครงสร้างของเมืองเช่นเดียวกับสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ภายในเมืองและบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของโบราณสถานมากกว่า 300 แห่ง มีอาคารบ้านเรือนสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเกือบ 4,000 หลังได้รับการอนุรักษ์ให้คงลักษณะเช่นเดิม ถนนต่างๆยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับสมัยโบราณ ใน ปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลจีนได้ประกาศให้เมืองผิงเหยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประจำ ชาติ และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองผิง เหยาให้เป็นมรดกโลก

เมืองโบราณผิงเหยา * กำแพงเมืองผิงเหยา



ศาลและสุสานขงจื๊อรวมทั้ง คฤหาสน์ของตระกูลขงที่ชูฟู่

ศาลและสุสานขงจื๊อรวมทั้งคฤหาสน์ของตระกูลขงที่ชูฟู่ คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเมืองชูฟู่ มณฑลซานตง ประเทศจีน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1021 (ค.ศ. 478) เพื่อระลึกถึงขงจื๊อ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของจีน หมู่อาคารและสิ่อก่อสร้างทั้งหลายนี้ได้ถูกทำลายและสร้างขึ้นเพิ่มเติมใหม่ เรื่อยมาในช่วงระยะเวลาอันยาวนานหลังจากการสร้าง

ศาล ขงจื๊อ

เมื่อแรกสร้างนั้นมีอาคารเพียงแค่ 3 หลัง แต่พระจักรพรรดิสมัยต่างๆ ของจีนได้ขยายศาลเรื่อยมา กระทั้งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 จักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่ง สมัยราชวงศ์ชิงได้โปรดให้บูรณะศาลขงจื๊อขนานใหญ่จนทำ ให้ตัวศาลมีขนาดใหญ่เท่าสภาพในปัจจุบัน เป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างสมัยโบราณที่เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าพระราชวังต้องห้าม ในกรุงปักกิ่งเท่านั้น

สุสาน

สุสานของขงจื๊อและตระกูลขงเป็นเขตสุสานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีอายุใช้ นานที่สุดในโลกในปัจจุบัน มีสุสานลูกหลานตระกูลขงกว่า 1 แสนสุสาน

คฤหาสน์

คฤหาสน์ขงจื๊อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง

ศาลและสุสานขงจื๊อรวมทั้งคฤหาสน์ของตระกูลขงที่ชูฟู่ *







หมู่บ้านโบราณตอนใต้ของมณฑลอาน ฮุย ซีตี้และหงชุน

หมู่บ้านซีตี้และหงชุน คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในมณฑลอานฮุย ประเทศจีน หมู่บ้านทั้งสองแห่งนี้ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดีไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ผังเมือง ถนน สถาปัตยกรรม การตกแต่ง และระบบชลประทานที่ครอบคลุมทั้งเมือง ได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นเอกรักษ์โดดเด่นของสิ่งที่ยังเหลืออยู่















หมู่ บ้านโบราณตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ซีตี้และหงชุน *







ยินซู

ยินซู (จีน: 殷墟; พินอิน: Yīnxū) คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายของราชวงศ์ซาง โดยเป็นเมืองหลวงอยู่ 225 ปี มีจักรพรรดิปกครองอยู่ 12 พระองค์ เมืองหลวงเก่าแห่งนี้เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของสิ่งที่เป็นไปในยุคทองของ อารยธรรมจีนยุคสำริด สุสานหลวงและพระราชวังที่เป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมจีน และกระดูกคำทำนายที่จารึกด้วยตัวอักษรจีนโบราณ ที่บ่งบอกเกี่ยวกับวัฒนธรรม และสถานะทางสังคมของคนในยุคนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ได้ขุดค้นพบในเมืองนี้

ยินซู







ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมของจีน

ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม (ภาษาอังกฤษ: History of painting) เริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์และเผยแพร่ไปในทุกวัฒนธรรมและทุก ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในโลกจนกระทั่งปัจจุบันนี้[1] จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรที่ 20 จิตรกรรมจะเป็นการเขียนศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art), ศิลปะศาสนา หรือศิลปะคลาสสิก หลังจากนั้นจึงมีการเริ่มเขียนจิตรกรรมที่เป็นแต่เพียงศิลปะนามธรรม (Abstract art) และต่อมาศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art) การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรม ตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย, ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะตะวันตก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก





จิตรกรรม ก่อนประวัติศาสตร์

ตรกรรมที่เก่าที่สุดพบที่ถ้ำโชเวท์ (Grotte Chauvet) ในประเทศฝรั่งเศสที่นักประวัติศาสตร์อ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่แกะและทาสารสีแดงและดำเป็นภาพม้า, แรด, สิงห์โต, ควาย, ช้างแมมมอธ, และมนุษย์ที่ส่วนใหญ่อยู่ในท่าล่าสัตว์ นอกจากฝรั่งเศสแล้วจิตรกรรมผนังถ้ำก็ ยังพบทั่วโลกเช่นในที่อื่นในประเทศฝรั่งเศส, อินเดีย, สเปน, โปรตุเกส, จีน, ออสเตรเลียและอื่นๆ ความเห็นถึงสาเหตุที่เขียนและความหมายของภาพก็มีกันไปต่างๆ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาจจะเขียนภาพสัตว์เพื่อ “ยึด” เอาวิญญาณของสัตว์เพี่อจะได้ทำให้การล่าสัตว์ง่ายขึ้น หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อสักการะธรรมชาติรอบข้าง หรืออาจจะเป็นความต้องการธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการแสดงออก หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อเป็นการสื่อความหมายที่มีประโยชน์ก็ได้ ในยุคหินเก่าภาพเขียนรูปมนุษย์ในถ้ำหาดูได้ยาก ภาพเขียนส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์และไม่แต่สัตว์สำหรับการบริโภคแต่รวมทั้สัตว์ ที่เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งด้วยเช่นแรด หรือ สัตว์ตระกูลเสือแมวเช่นภาพในถ้ำโชเวท์ บางครั้งก็จะมีเครื่องหมายจุด แต่ภาพมนุษย์เป็นแต่เพียงภาพพิมพ์ของมือหรือรูกึ่งสัตว์กึ่งคน ส่วนภาพเขียนในถ้ำอัลตามิรา (Cave of Altamira) ในประเทศสเปนมีอายุราวระหว่าง 14,000 ถึง 12,000 ก่อนคริสต์ศักราชมีภาพต่างๆ ที่รวมทั้งไบซอน ในโถงวัวของลาส์โกซ์ในดอร์ดอญในฝรั่งเศสมีจิตรกรรมผนังถ้ำที่ เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดที่เขียนระหว่าง 15,000 ถึง 10,000 ก่อนคริสต์ศักราช ความหมายของการเขียนไม่เป็นที่ทราบ ตัวถ้ำไม่ได้อยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของผู้วาดซึ่งอาจจะหมายถึงว่าเป็นสถาน ที่ที่ใช้เฉพาะฤดูในประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์แต่ละตัวก็มีเครื่องหมายซึ่งอาจจะมีความหมายทางเวทมนต์ สัญลักษณ์ที่คล้ายศรในลาส์โกซ์บางครั้งก็ตี ความหมายกันว่าเป็นปฏิทินหรือหนังสืออัลมาแนค แต่ก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปอะไรได้แน่นอน งานที่สำคัญที่สุดของยุคหินกลางคือภาพการเดินทัพของนักการสงครามที่เป็นจิตรกรรมผนังหินที่ ชิงเกิลเดอลาโมลา (Cingle de la Mola) ในกัสเตยอง (Castellón) ในประเทศสเปนที่เขียนราวระหว่าง 7,000 ถึง 4,000 ก่อนคริสต์ศักราช วิธีเขียนอาจจะเป็นการพ่นสารสีบนผนัง การเขียนมีลักษณะเป็นธรรมชาติแต่ก็ตกแต่งเพิ่มบ้าง รูปที่วาดมีลักษณะเป็นสามมิติแต่ทับกัน งานศิลปะของอินเดียที่เก่าที่สุดเป็นจิตรกรรมผนังหินจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมขูดหิน (Petroglyph) ที่พบในที่ต่างๆ เช่นที่หลบหินที่บิมเบ็ตคา บางแห่งก็มีอายุเก่ากว่า 5500 ก่อนคริสต์ศักราช งานเขียนประเภทนี้ทำต่อกันมาเป็นเวลาหลายพันปี ในคริสต์ศตวรรที่ 7 เสาสลักแห่งอจันตา (Ajanta) ในรัฐมหาราษฏระในประเทศอินเดียแสดงให้เห็นถึงความงดงามของ จิตรกรรมของอินเดียและสีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงและส้มเป็นสีที่ทำมาจากแร่ ธาตุ

จิตรกรรมตะวันออก

จิตรกรรม หรือภาพเขียนของศิลปะสายอินเดียมีลักษณะเด่นอยู่ที่การ แสดงเนื้อเรื่องใช้ภาพคนเป้นสิ่งดำเนินเรื่อง จึงได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษที่ประดิษฐ์ภาพคนให้เด่น และประกอบด้วยทิวทัศน์ ปราสาทราชวัง ตามที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ความกลมกลืนและหลักการจัดตัวภาพมีส่วนคล้ายกันเฉพาะในกลุ่มประเทศในสายศิลปะอินเดีย นอกจากนั้นก็มีการเน้นภาพคนสำคัญให้เด่นกว่าคนอื่น ๆ ในภาพเดียวกัน ซึ่งเท่ากับใช้ภาพช่วยเล่าเรื่องให้เข้าใจนั่นเอง การใช้สีก็จะผสมสีให้เป็นไปตามความต้องการแล้วระบายสีจนเรียบแบบไม่เน้นแสง เงา และไม่แสดงกาลเวลาด้วย การตัดเส้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนพื้นที่ในการเขียนภาพนั้น มีทั้งเป็นแผ่นผนังอาคาร เขียนเป็นภาพประกอบในหนังคัมภีร์ เช่น หนังสือธรรม และหนังสือสวด เป็นต้น สำหรับการเขียนตกแต่งก็จะมีสีที่สดใสประกอบกับการตัดเส้นจนเด่นชัดยิ่งขึ้น

ส่วนจิตรกรรมหรือภาพเขียนในสายศิลปะจีน มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแสดงแนวปรัชญาสิ่งปรากฏในภาพจึงเป็นธรรมชาติมีป่า เขา แม่น้ำ ลำธาร นก ดอกไม้ ใบไม้ โดยเฉพาะใบไม้ไผ่ของจีน ศิลปินสามารถวาดด้วยสีดำที่ผสมน้ำให้บังเกิดความอ่อนแก่ได้อย่างกลมกลืนยิ่ง สีดำเรียกว่า “ หมึกจีน ” เป็นหลักในการเขียนภาพ ส่วนสีอื่น ๆ ก็ใช้อย่างเจือจางมากและภาพส่วนมากจะมีตัวอักษรประกอบเพื่อให้เกิดแง่คิดทาง ปรัชญาธรรมะ สำหรับภาพที่ใช้คัมภีร์พระไตรปิฎกเขียนเป็นภาพคน เพื่อเล่าเรื่องหรืออธิบายเรื่องด้วย แต่จิตรกรรมของญี่ปุ่นมีสีมากขึ้น การใช้สีที่ค่อนข้างสดใสแต่ก็เจือจางเป็นสีบาง ๆ เท่านั้น การจัดวางภาพจิตรกรรมในสายศิลปะจีน จะเห็นได้ว่าพยายามเน้นจินตนาการอัน ประกอบด้วยธรรมชาติต่าง ๆ ดังกล่าวว่า สำหรับการใช้สีนั้น เฉพาะงานวิจิตรกรรมมักจะเป็นสีเจือจาง แต่ถ้าเป็นการใช้สีตกแต่งก็จะเป็นสีที่สดใส



เทพนารีในจิตรกรรมของ ฮว๋าซานชวน

ภาพเทพนารี และเทพเจ้าต่างๆ ของจีนไว้เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะภาพชุด โป๊ยเซียน ที่เขาดัดแปลงขึ้นจากภาพต้นแบบสมัยราชวงศ์ถังนั้น ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอันมาก ภาพพระแม่กวนอิมโพธิสัตว์ที่เขาวาดไว้ภาพหนึ่งก็เป็นหนึ่งในภาพพระแม่กวนอิม ที่ได้รับความนิยมในอันดับต้นๆ ฮว๋าซานชวน เริ่มต้นวาดภาพตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปี เขาได้รับการยกย่องมากในการเขียนภาพสาวงามในประวัติศาสตร์ และนางในวรรณคดีจีนที่แสดงถึงความอ่อนหวาน และประณีตบรรจง ภาพของเขามีความเป็นจีนโดยแท้ แต่เป็นจีนแบบประเพณีที่ถูกปรับปรุงให้งามอย่างที่ทุกชนชาติสามารถที่จะชื่น ชมได้ ผลงานทุกชิ้นของเขาจะมีลักษณะเบา เหมือนล่องลอยอยู่ในความฝัน แม้ว่าบางภาพจะมีฉากหลังอันประณีตอลังการอย่างยิ่งก็ตาม บุคคลในภาพล้วนแสดงอาการเคลื่อนไหวมีชีวิตชีวา ที่เด่นมากคืออาภรณ์ต่างๆ มีการออกแบบลวดลายและสีสันไม่ซ้ำกัน ด้วยโทนสีแบบที่เป็นจีนแท้ๆ นอกจากนี้เขายังเป็นศิลปีนจีนคนแรกๆ ที่กล้าวาดภาพสาวงาม และเทพนารีต่างๆ ในลักษณะกึ่งเปลือย (Semi-Nude) ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในศิลปะจีนแบบประเพณีอีกด้วย

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างภาพ เทพนารีจีนของ ฮว๋าซานชวน













หัตถกรรมจีน

ศิลปะและงานหัตถกรรมของจีนมีประวัติ ศาสตร์อันยาวนานและความภูมิใจในอารยธรรมของตน ส่งผลให้จีนพัฒนา และสร้างงานศิลปะหัตถกรรมที่งดงาม อันทรงคุณค่ายิ่ง ศิลปะ การวาดภาพของจีนมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับศิลปะการเขียนอักษร ใน สมัยโบราณจิตรกรจะต้องฝึกฝนศิลปะการเขียนอักษรอย่างจริงจัง ส่วน นักเขียนอักษรก็มักมีประสบการณ์ในการวาดภาพ ศิลปะ ทั้งสองแขนงจะต้องเคียงกันในงานแต่ละชิ้น ชาว จีนถือว่าอักษรเป็นเครื่องมือในการสืบทอดวัฒนธรรม และ ความสมารถในเขิงอักษรศาสตร์ยังช่วยส่งบุคคลให้ ก้าว สู่สถานภาพทางสังคมที่สูงยิ่งขึ้น แม้จะมีภาษาถิ่นที่หลากหลาย แต่ภาษาเขียนกลับมีเพียงหนึ่งเดียว ภาษา เขียนซึ่งมีเอกภาพและเป็นเครื่องมือสืบทอดประวัติศาสตร์นี้ จึง มีความสำคัญกว่าภาษาพูด ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องเคลือบขึ้นในราว ศตวรรษที่ 7 แต่เครื่องเซรามิกนั้นมีมาตั้งแต่ ยุคหินใหม่แล้ว โดยกลุ่มแม่น้ำหวงเหอและฉางเจียง นั้นเป็น แหล่งกำเนิดของภาชนะดินเผาลายหวี-ลายเชือก face=”angsananew”> สีแดงและสีดำมีอายุราว face=”angsananew”>7,000 - 8,000 ปี ส่วนแหล่งอารยธรรมหยางเส้ากับหลงซาน ( 5,000 - 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ) ก็ได้พัฒนารูปแบบภาชนะดินเผาขึ้นจนมีความ หลากหลายโดยใช้สีแดง ดำ และน้ำตาลเป็นหลัก และยังมีการคิดประดิษฐ์ ภาชนะดินเผาลายหน้ากากมนุษย์และปลาที่มีผิวบาง face=”angsananew”> แข็งแกร่งเคลือบด้วยดินเหนียวสีขาว และทรายชั้นดี ต่อมาในยุค ราชวงศ์ฮั่นได้มีการทำเครื่องเคลือบสีเทาอ่อน ผิวเหลือบเขียวเป็นมันวาวขึ้นที่ เมืองเยว่โจว ถึงยุคราชวงศ์ถังมีชื่อเสียงลือไปไกลถึงยุโรป และตะวันออกกลาง ยุคราชวงศ์ยวน ได้ มีการนำเทคนิคจากตะวันออกใกล้มาใช้เขียนลวดลายใต้ผิวเคลือบให้เป็นสีน้ำเงิน สด เป็นที่รู้จักในนามเครื่องเคลือบราชวงศ์หมิ ง ครั้นถึงยุคต้นราชวงศ์ชิง เครื่อง เคลือบสีฟ้า - ขาวก็ได้รับการพัฒนาคุณภาพขึ้นจน บรรลุถึงขั้นสูงสุด หยก จัดเป็นอัญมณีมีค่าของจีน และ เป็นหนึ่งในงานฝีมือที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจนถึงขั้นสุดยอดมาแต่ครั้ง โบราณ มีตำนานเล่าว่าเมื่อผานกู่สิ้นชีพ ลมหายใจของท่านได้กลายเป็นสายลมกับหมู่เมฆ เนื้อหนังกลายเป็นดิน ไขกระดูกกายเป็นหยกและ ไข่มุก ชาวจีนจึงเชื่อว่าหยกมีทั้งความงามและอำนาจวิเศษ คน โบราณเคยใช้หยกประกอบพิธีศาสนา ก่อนนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ เครื่อง หยกที่เก่าแก่ที่สุดนั้นขุดพบในชุมชนยุคหินใหม่เมื่อ 7,000 ปี ก่อนที่เหอหม่าตู ความเชื่อที่ว่าหยกมีอำนาจปกปักรักษา ทำ ให้มีการนำหยกไปทำเป็นชุดให้กับคนตาย หยกประกอบด้วยธาตุเจไดต์และเนไฟรต์ เจไดต์นั้นมีค่ามากกว่าเพราะหายาก เนื้อแกร่ง สีใสกึ่งโปร่งแสง ในขณะที่เนไฟรต์จะมีเนื้ออ่อน กว่า สีของหยกมีหลากหลายตั้งแต่ขาวไปจนถึงเขียว ดำ น้ำตาล และแดง ชาวจีนถือว่าหยกสีเขียวมรกตเป็นหยกที่มีค่ามากที่สุด แหล่ง ผลิตเครื่องหยกของจีนในปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองชิงเทียน (มณฑล เจ๋อเจียง) โซ่วซาน (มณฑล ฝูเจี้ยน)และลั่วหยาง (มณฑล เหอหนาน)



ประวัติ ศาสตร์ของจีน

ชื่ออย่างเป็นทางการ : สาธารณรัฐประชาชนจีน

พื้นที่ประเทศ : 779,651 ตร.กม.

ประชากร : 9.6 ล้านคน

เมืองหลวง : ปักกิ่ง

ประชาชน : มีชนชาติต่างๆ อยู่รวมกัน

56 ชนชาติ เป็นชาวฮั่น 93.3% ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อย ที่สำคัญได้แก่ ชนเผ่าจ้วง, หุย, อุยกูร์, หยี, ทิเบต, แม้ว, แมนจู, มองโกล, ไตหรือไท และเกาซัน

ภาษา ราชการ : จีนกลาง

ศาสนา : พุทธ, ลัทธิขงจื้อ, ลัทธิเต๋า

การ ปกครอง : สังคมนิยมแบบจีน

ประธานาธิบดี : เจียง เจ๋อหมิน



• ประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก (รองจากรัสเซีย และ แคนาดา)

• ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับเพื่อนบ้านถึง 14 ประเทศ

• ประเทศที่มีอัตราเติบโต ทางเศรษฐกิจในระดับสูงอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน (ในปัจจุบันเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตทาง เศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก)

• ประเทศที่เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีได้เผยแผ่ไปทั่วโลก



Geography
ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ ของประเทศจีน มีความแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน โดยแบ่งเขตที่ตั้งตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นเขตอุดมสมบูรณ์ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะคล้ายป่าชื้นเขตร้อน ส่วนทางด้านเหนือบริเวณที่ตั้งของแมนจูเรียเป็นป่าเขตหนาว ทางด้านมองโกลและซินเจียงกลับเป็นเขตทะเลทรายและทุ่งหญ้า นับ ได้ว่าประเทศจีนมีความหลากหลายทางสภาพภูมิประเทศ และสิ่งนี้ได้ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศ คือ แม้ลักษณะทั่วไปจะแบ่งเป็น 4 ฤดู แต่ถ้าแบ่งตามสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แล้ว ทางภาคเหนือจัดได้ว่า มีสภาพอากาศที่แห้งและหนาวเย็น ในหน้าร้อนจะร้อนชื้นและอบอ้าว ตอนในของประเทศพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและภูเขาสูง ซึ่งอากาศจะแปรปรวนมาก ขณะที่ภาคใต้อากาศจะเย็นสบายคล้ายประเทศไทยทางตอนเหนือและมีฝนตกบ่อย





Administration divisions
การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศ จีน มีการแบ่งเขตการปกครองหลากหลายที่สุดประเทศหนี่ง คือ

• มีเขตการปกครอง 28 มณฑล (Provinces) เช่น มณฑลกวางตุ้ง (Guangdong Sheng) มณฑลซานตง (Shandong Sheng) มณฑลเสฉวน (Sichuan Sheng) เป็นต้น

• มี 5 เขตปกครองตนเอง (Autonomous regions) ได้แก่ มองโกเลียใน (Nei Menggu Zizhiqu) ซินเกียง (Xinjiang Weiwu'erzu Zizhiqu) ธิเบต (Xizhang Zizhiqu) กวางสี (Guangxi Zhuangzu Zizhiqu )และหนิงเซีย (Ningxia Huizu Zizhiqu)

• มี 4 เทศบาลเมือง ( Municipalities) คือ เมืองปักกิ่ง (Beijing Shi) เมืองเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Shi) เมืองเทียนสิน (Tianjin Shi) และเมืองฉงชิ่ง (Chongqing Shi)

มี 2 เขตปกครองพิเศษ (Special• Administration regions) คือ ฮ่องกง และ มาเก๊า ตามหลักการหนึ่งประเทศสองระบบ เมื่อมีการปกครองท้องถิ่นที่ หลากหลายแล้วจะปกครองคนกว่าพันล้านคนอย่างไร การปกครองในจีนตั้งแต่ปี 1949 นั้นใช้ระบบคอมมิวนิสต์แต่ในด้านเศรษฐกิจได้มีการนำระบบทุนนิยมมาใช้ ตามนโยบายของเติ้งเสี่ยวผิงที่ว่า "ไม่ว่าแมวจะสีอะไรขอให้จับหนูได้ก็พอ"



Language
ภาษา

ในอดีตจีนใช้รูปภาพแทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือที่เรียกว่าอักษรรูปภาพ ซึ่งตัวอักษรรูปภาพเหล่านี้ได้พัฒนามาเป็นตัวอักษรจีนในปัจจุบัน. ตัว อักษรจีนในปัจจุบันแบ่งเป็นสองรูปแบบคือ ตัวอักษรอย่างง่าย (Chinese simplify character) และตัวอักษรดั้งเดิม (Chinese traditional character) ตัวอักษรอย่างง่ายถูกใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนตัวอักษรดั้งเดิมยังถูกใช้ในไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า เซี่ยงไฮ้และในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล รวมทั้งประเทศไทยในขณะนี้ด้วย คำ ถามในใจของหลาย ๆ คนจะเกิดขึ้นทันทีว่าแล้วจะเรียนแบบไหนดีล่ะ ถ้าเป็นไปได้การรู้ทั้งสองแบบจะเป็นประโยชน์ที่สุด แต่ในปัจจุบันแนวโน้ม ของความนิยมในการใช้ตัวอักษรแบบง่ายนั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ใน ส่วนของภาษาพูด หลายคนคงสงสัยว่า ไปเรียนเมืองใดภาษาจึงได้มาตรฐานที่สุด ด้วยความจริงที่ว่าเมืองจีน มีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก และในแต่ละท้องถิ่นต่างมีภาษาหรือสำเนียงพูดเป็นของตนเอง เช่น "ลื้ออ้ายขื้อตี่ก๋อ อั๋วอ้ายขื้อตะลัก" นี่คือภาษาที่มักจะได้ยินจากคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของเมืองซัวเถา (Shantou) ในมณฑลกวางตุ้ง ที่พวกเราคุ้นเคย ซึ่งไม่สามารถใช้สื่อสารได้ในพื้นที่อื่น ๆ ของเมืองจีน ดัง นั้นรัฐบาลกลางของจีน จึงได้กำหนดภาษาจีนกลาง (Putong Hua) ขึ้นมาเพื่อเป็นภาษากลางสำหรับสื่อสารกันทั่วประเทศ โดยทั่วไปคนทางภาคเหนือของจีน จะพูดภาษาจีนกลางได้ชัดเจนกว่าคนที่อาศัยอยุ่ทางภาคใต้ ดัง นั้นถ้าคุณต้องการสื่อสารกับคนทั้งประเทศจีนแล้วก็จำเป็นต้องรู้จักภาษา จีนกลางเพราะเป็นภาษาที่กลางมาตรฐานและเป็นภาษาราชการที่คนจีนส่วนใหญ่ สามารถเข้าใจได้



จังหวัด ต่างๆ

ต้า เหลียน เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว และ ยังมีท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน จนได้รับการขนานนามเป็น Hong Kong แห่งจีนเหนือ ครั้ง หนึ่ง เคยถูกยึดครองทั้งจาก ญี่ปุ่น และ รัสเซีย ในช่วงสงครามปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงศตวรรษที่ 20 จึงยังมีกลิ่นอายของ บรรยากาศ สถาปัตยกรรมแบบรัสเซียปะปนหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้างภายในตัวเมือง ปัจจุบัน ต้าเหลียนมีสถานะเป็นเมืองเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลที่สำคัญและเจริญรุ่งเรืองมาก

ของจีนมีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนมากมาย โดยเฉพาะนักลงทุนชาวญี่ปุ่น

เมือง ต้าเหลียน ตั้งอยู่ที่ปลายคาบสมุทรเหลียวหนิง (Liao Ning) ล้อมรอบด้วยทะเลสามด้าน และเป็นเมืองตากอากาศที่สำคัญทางภาคเหนือ ทั้ง ยังเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย และ สภาพแวดล้อมดีเลิศจนได้รับการจัดลำดับจากสหประชาชาติให้เป็น 1 ใน 500 เมืองทั่วโลกที่มีสภาพแวดล้อมยอดเยี่ยมในปี 2001 และ จากการบริหาร พัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพ ต้าเหลียนจึง ถูกยกฐานะเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาให้กับเมืองต่างๆ ของจีน ตัวอย่างเช่น โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งได้ถูกทยอยย้ายออกไปอยู่นอกเมืองจนปัจจุบัน ต้าเหลียนจัดได้ว่าเป็นเมืองที่สะอาดและอากาศดีที่สุดในจีนเหนือ



---------------------------------------------------------------

เป็น เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน

เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และ วัฒนธรรมของจีน มหานคร ปักกิ่ง มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นเมืองหลวงตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน สืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน ทำให้ปักกิ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาตร์มากมาย เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมิน กำแพงเมืองจีน พระราชวังฤดูร้อน พระราชวังต้องห้าม เป็นต้น

ปักกิ่งมีประวัติเริ่มตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีการขุดค้นพบกระโหลกมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งตามหลักฐานที่พิสูจน์ได้นี้ แสดงให้เห็นว่า ปักกิ่งมีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่สมัย คริสต์ศตวรรษที่ 13 และในปี ค.ศ.1421 จักรพรรดิหย่งเล่อได้ก่อตั้ง ออกแบบวางผังเมือง และได้ย้ายฐานราชการชั่วคราวจากเมืองหนานจิงมายัง เป่ยผิง ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองปักกิ่งจนถึงทุกวันนี้ ใน ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ปักกิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย จากบรรยากาศที่เคร่งขรึมในยุคของจีนคอมมิวนิสต์ กลายเป็นเมืองที่มีเสน่ห์แห่งหนึ่งในเอเชีย และด้วยปักกิ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์มากมาย จนทำให้ ในแต่ละปีมีชาวต่างชาติจำนวนมากเดินทางเข้าไปท่องเที่ยว และยังเป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุน ปัจจุบัน ชาวปักกิ่งมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อาคารบ้านเรือนจากเดิมที่อยู่กันอย่างแออัด ได้เปลี่ยนเป็นอาคารสูง และชีวิตความเป็นอยู่ที่ได้รับอิทธิพล

วัฒนธรรมจากตะวันตกมาก ขึ้น

-------------------------------------------------



เมือง ใหญ่อันดับสามของประเทศจีน

เมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็น ศูนย์กลางทางการค้าที่เป็นประตูเข้าสู่ปักกิ่ง

เมืองที่ได้รับ ฉายาว่า "เซี่ยงไฮ้ของภาคเหนือ"

เทียนจิน จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศจีน ห่างจากเมืองปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง ประมาณ 120 กิโลเมตร มีสถานภาพเป็น "เทศบาลเมือง" (Special Municipalities) ซึ่งการปกครองขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ที่ตั้งของเทียนจิน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปักกิ่ง ด้านตะวันออกติดกับอ่าวป๋อไห่ (Bohai Bay) เทียนจิน นอกจากจัดเป็นเมืองท่าที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศจีน แล้ว ยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางทางการค้า การขนส่ง การสื่อสารที่สำคัญของจีนตอนเหนือ สภาพภายในเมืองยังมี สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 ในยุคล่าอาณานิคม



-----------------------------------------------

เมืองท่าที่สำคัญติด 1 ใน 5 ของจีน

เมือง ท่ายุทธศาตร์ที่สำคัญของจีน (มีกองเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในจีน)

เมือง ที่เป็นแหล่งผลิตเบียร์ที่มีชื่อที่สุดของจีน (Tsingdao Beer)

เมือง ที่ยังมีกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมแบบเยอรมัน

เมืองที่จะเป็นเจ้า ภาพจัดกีฬาโอลิมปิกทางน้ำ ในปี 2008

เมืองชิงเต่าตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลซานตง (Shandong Sheng) มีพื้นที่ทั้งหมด 10,654 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีประมาณ 7 ล้านคน ในจำนวนนี้ อาศัยอยู่ในเขตเมืองประมาณ 2,270,000 คน ประชากร เมืองชิงเต่า ได้ชื่อว่า มีความขยันและทำงานหนัก ซึ่งเป็นจุดสำคัญทำให้เมืองชิงเต่าได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

เมืองชิงเต่าได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 1891 จากรัฐบาลทหารของเมืองชิงเต่า และเนื่องจากเป็นเมืองท่ายุทธศาตร์ที่สำคัญ ทำให้เมืองชิงเต่าถูกยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่นและเยอรมันในช่วงปี 1897 และหลังจากนั้น ยังเคยเป็นฐานทัพเรือของอเมริกามายาวนานถึง 36 ปี นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในประวัติศาสตร์ ลายเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อเมืองชิงเต่า เช่น เหตุการณ์ May Fourth Movement เป็นต้น

--------------------------------------------------



เป็น เมืองที่มีความสำคัญมากที่สุดของจีน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน แฟชั่นและการท่องเที่ยว เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์ หนึ่งในสองแห่งของจีน เมืองที่เป็นประตูสู่ตะวันออก และได้รับฉายาว่า "ไข่มุขแห่งเอเชีย" เมืองที่ท่านเติ้งเสี่ยว ผิงเคยกล่าวว่า "ถ้าจะพัฒนาดินแดนในลุ่มแม่น้ำแยงซี ต้องเริ่มที่เมืองนี้ก่อน" มหานคร เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) ปัจจุบันนับเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีน เป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆ ของภูมิภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การลงทุน รวมถึง ด้านแฟชั่น และการท่องเที่ยว เซี่ยงไฮ้ จึงนับเป็นความภูมิใจของชาวจีน โดยเฉพาะชาวเซี่ยงไฮ้ ถือได้ว่าเซี่ยงไฮ้เป็นสัญลักษณ์ของจีนยุคใหม่ ในด้านความก้าวหน้า และ ทันสมัย

เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีการผสมผสานทาง ด้านวัฒนธรรม ทั้งของจีนและตะวันตกได้อย่างกลมกลืน โดยจะเห็นได้จาก อาคารสถาปัตยกรรม ในยุคอาณานิคมตามเขตเช่าเดิมของชาวตะวันตก ซึ่งในปัจจุบัน กลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของเซี่ยงไฮ้ ในเขต เมืองเก่าบริเวณสวน Yuyuan ที่ถูกสร้างในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งยังคงไว้ด้านรูปแบบอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีน ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ขายของที่ระลึก และศิลปะต่างๆ นอกจาก นั้นสถานที่ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาเยีอนเซียงไฮ้จะพลาดไม่ได้คือ ถนนNanjing อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญอันหนึ่งของเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและ เป็นถนนคนเดินที่เต็มไปด้วย แหล่งร้านค้าสินค้าต่างๆรวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาจับจ่ายซื้อสินค้ามากมาย

-----------------------------------------------

เมือง แรกที่ได้รับจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน มีอัตราการ เติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในประเทศจีน เมืองหน้าด่านของจีน กับฮ่องกง

กวางเจา (Guangzhou) เป็นเมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้ง (Guangdong Sheng) ซึ่งเป็นมณฑลซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งของจีน คือ เซินเจิ้น (Shenzhen), จูไห่ (Zhuhai) และ ซัวเถา (Shantou) เมืองกวางเจาตั้งอยู่ปากแม่น้ำจูเจียง (Zujiang) มีความประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,800 ปี เป็นจุดเริ่มของเส้นทางสายไหมทางทะเลในครั้งอดีต และยังเคยเป็นเมืองท่าเสรีแห่งแรกที่เปิดต้อนรับชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อ ค้าขาย ปัจจุบันกวางเจามีบทบาทเป็นเมืองในเขตเศรษฐกิจ การค้า ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในภาคใต้ของจีน และยังได้รับสถานะเป็นหนึ่งในสามเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของจีน อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีผลผลิตโดยรวมมากที่สุดด้วย นอกจากนั้นยังมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทันสมัย มีระบบรถไฟใต้ดิน การเดินทางไปฮ่องกงทำได้สะดวกทั้งทางรถไฟ รถบัส และ เรือด่วน โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง และ ยังมีเที่ยวบินตรงจากประเทศไทยวันละ 2 เที่ยว ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง เท่านั้น รวมทั้งด้านภูมิอากาศ อาหาร การดำรงชีวิต ตลอดจนความเป็นอยู่ก็มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย กวาง เจามีที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงหน้าร้อนราวเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม อยู่ที่ 22-28 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงหน้าหนาว ช่วงเดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์

-----------------------------------------------



จีนยุคใหม่หลังการสถาปนาประเทศ 60 ปี (ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน)

ประชาชนจีนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และก้าวสู่สังคมที่มีความเป็นอยู่ระดับพอมีพอใช้

ในช่วงต้นของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ประชาชนจีนมีความเป็นอยู่อย่างลำบากยากแค้น แม้จะเริ่มพัฒนาขึ้นบ้างแต่ก็อยู่ในสภาพอดมื้อกินมื้อ แต่ภายหลังจากประเทศจีนดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศในปี ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจีนก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จนถึงปี ค.ศ. 2000 ประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดี และค่อยๆ ก้าวสู่สังคมที่มีความเป็นอยู่ระดับพอมีพอใช้

● ด้านระดับการบริโภคของประชาชน

ระดับการบริโภคของประชาชนทั่วไปในจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการ พัฒนาของเศรษฐกิจ เมื่อปี ค.ศ. 1952 อัตราการบริโภคเฉลี่ยของประชาชนจีนอยู่ที่ระดับ 80 หยวนต่อครอบครัว ปี ค.ศ. 1978 เพิ่มขึ้นเป็น 184 หยวน จนถึงปี ค.ศ. 2008 เพิ่มขึ้นเป็น 8,181 หยวน นอกจากนี้ การซื้อข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในครัวเรือนของชาวจีนก็มีมากขึ้น ถึงปี ค.ศ. 2008 ครัวเรือนในเขตเมืองมีจำนวนเครื่องโทรทัศน์ 132.9 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 59.3 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน ส่วนครัวเรือนในเขตชนบทมีจำนวนเครื่องโทรทัศน์ 99.2 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ 5.4 เครื่องต่อ 100 ครัวเรือน สำหรับเครื่องใช้อื่นๆ เช่น เครื่องพัดลมไฟฟ้า เครื่องซักผ้า รถจักรยานยนต์ ตลอดจนโทรศัพท์มือถือก็มีการบริโภคเพิ่มขึ้นโดยตลอด

● ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่คนยากจน

เมื่อปี ค.ศ. 1978 จำนวนประชาชนผู้ยากจนในชนบทของประเทศจีนมีประมาณ 250 ล้านคน ครองสัดส่วนร้อยละ 25 ของจำนวนประชากรจีนทั้งหมด รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับนโยบายให้ความช่วยเหลือผู้ยากจนมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรัฐบาลจีนดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ ได้ออกนโยบายช่วยเหลือผู้ยากจนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขยายความร่วมมือกับต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้ยากจนในจีนลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จนถึงปลายปี ค.ศ. 2007 จำนวนผู้ยากจนในประเทศจีนลดเหลือ 14.79 ล้านคน สหประชาชาติและธนาคารโลกต่างแสดงความชื่นชมจีนในด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ ยากจน





การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษาของประเทศจีน

ระดับการศึกษาและวิทยาศาสตร์ของจีนในช่วงต้นของการสถาปนาประเทศอยู่ใน สภาพที่ล้าหลังอย่างมาก จำนวนผู้ไม่รู้หนังสือมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และอัตราการเข้าโรงเรียนของประชากรวัยเด็กอยู่ในระดับเพียงร้อยละ 20 บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วประเทศมีจำนวนไม่ถึง 50,000 คน สถาบันวิจัยมีเพียง 30 กว่าแห่งทั่วประเทศ แต่เมื่อเวลาผ่านปี 60 ปี วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษาของประเทศจีนมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งประสบความสำเร็จอย่างเกินคาดในหลายด้าน

● ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เนื่องจากประเทศจีนให้ความสำคัญและทุ่มเงินทุนเพื่อการพัฒนาด้านวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมาก ส่งผลให้ประเทศจีนมีฐานะในโลกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงขึ้น จนถึงปี ค.ศ. 2007 จำนวนผู้ที่ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในประเทศจีนมีจำนวน 4,540,000 คน และปี ค.ศ. 2008 งบประมาณในด้านการทดลองและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีมูลค่ากว่า 457,000 ล้านหยวน ครองสัดส่วนร้อยละ 1.52 ใน GDP ของประเทศจีน หลังจากประเทศจีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา ประเทศจีนได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิเช่น การผลิตไฟฟ้าโดยรวมเครือข่ายโรงผลิตพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฉินซาน (秦山核电站) และโรงผลิตพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ต้าย่าวาน (大亚湾核电站) การสร้างเขื่อนซานเสียซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก การส่งยานฉางเอ๋อ 1 (Chang’e 1) ไปโคจรรอบดวงจันทร์ การส่งยานเสินโจว 5 ยานเสินโจว 6 และยานเสินโจว 7 พร้อมนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศ เป็นต้น

















● ด้านการศึกษา

นับตั้งแต่ช่วงเวลาแรกที่ประเทศจีนสถาปนาขึ้นจนถึงปี ค.ศ. 1978 รัฐบาลจีนให้ความสำคัญอย่างสูงในด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานควบคู่ไปกับการ พัฒนาการศึกษาระดับสูงตามความเหมาะสม ส่งผลให้หลังการปฏิรูปและเปิดประเทศ การศึกษาของจีนได้เข้าสู่ช่วงพัฒนาอันรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 2008 จำนวนนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษามีจำนวน 20,210,000 คน เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 1978 ถึง 19,350,000 คน ระหว่างปี ค.ศ. 1978-2008 มีนักศึกษาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมด 35,210,000 คน และจบการศึกษาระดับปริญญาโท 2,100,000 คน

การพัฒนาด้านสังคม

● ด้านวัฒนธรรม

ตามกระบวนการพัฒนาของประเทศจีน ระบบการบริการด้านวัฒนธรรมได้มีความก้าวหน้าอย่างมากมาย จนถึงปี ค.ศ. 2008 ห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศจีนมีจำนวนทั้งหมด 2,819 แห่งซึ่งมากกว่าปี ค.ศ. 1949 ถึง 51.3 เท่า พิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศมีจำนวน 1,893 แห่งมากกว่าปี ค.ศ. 1949 ถึง 90.1 เท่า สถานีวิทยุทั่วประเทศมีจำนวน 257 แห่ง จากที่มีเพียง 49 แห่งเมื่อปี ค.ศ. 1949 นอกจากนี้แล้ว การจัดพิมพ์จำหน่ายหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ ก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่มีสิ่งพิมพ์ที่หลากหลายชนิดขึ้นเท่านั้น จำนวนการจำหน่ายยังเพิ่มขึ้นอย่างมากมายอีกด้วย



















ด้านสาธารณสุข

หลังจากประเทศจีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ ระบบสาธารณสุขของประเทศจีนได้พัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงปลายปี ค.ศ. 2008 จำนวนหน่วยงานสาธารณสุขทั้งที่เป็นของภาครัฐและเอกชนมีทั้งหมด 27,800 แห่ง ซึ่งมากกว่าปี ค.ศ. 1949 ถึง 75 เท่า มีจำนวนแพทย์ 5,030,000 คน มากกว่าปี ค.ศ. 1949 ถึง 9 เท่า นอกจากนี้ ระดับความสามารถในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ของประเทศจีนก็มีการพัฒนาไปอย่างมาก ทั้งนี้ อายุเฉลี่ยของคนจีนได้เพิ่มขึ้นเป็น 73 ปี จากแต่เดิมที่มีอายุเฉลี่ยเพียง 35 ปี เมื่อปี ค.ศ. 1949

การพัฒนาในด้านการกีฬาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

● ด้านการกีฬา

ในช่วงเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนประสบความสำเร็จด้านการกีฬาอย่างน่าทึ่ง เมื่อปี ค.ศ. 1956 นักกีฬายกน้ำหนักจากจีนได้ทำลายสถิติโลกสำเร็จเป็นครั้งแรก และในช่วงเวลาต่อมา ทีมนักกีฬาจากจีนก็เริ่มมีการพัฒนาอย่างมากมาย จนถึงปี ค.ศ. 2008 ประเทศจีนได้ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2008 ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้จีนยังได้ครองตำแหน่งเป็นประเทศเจ้าเหรียญทองในการ แข่งขันด้วย ตามสถิติ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 จนถึงปี ค.ศ. 2008 นักกีฬาจีนที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาต่างๆ ในแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมีจำนวน 2,283 คน ทำลายสถิติโลกจากการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ได้เป็นจำนวน 1,071 ครั้ง









● ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เมื่อเศรษฐกิจมีการพัฒนา ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมก็เกิดขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงเวลาหลังจากจีนปฏิรูปและเปิดประเทศ รัฐบาลจีนให้ความสำคัญในด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการลดมลพิษอย่างมาก ทำให้สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆ ของจีนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี ค.ศ. 1981 จีนจัดสรรงบประมาณเพื่อการลดมลพิษด้านต่างๆ เป็นมูลค่า 2,500-3,000 ล้านหยวนต่อปี จนถึงปี ค.ศ. 2007 เงินงบประมาณด้านดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 338,800 ล้านหยวน ซึ่งมากกว่าปี ค.ศ. 1981 ถึง 135 เท่า นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญในด้านการก่อสร้างและติดตั้งสาธารณูปโภคในด้านการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยอนุมัติเงินทุนมูลค่ากว่า 180,100 ล้านหยวนในด้านดังกล่าว เช่น สร้างโรงงานบำบัดน้ำเสีย ปลูกต้นไม้ตามพื้นที่ต่างๆ ควบคุมปริมาณการปล่อยมลพิษต่างๆ เป็นต้น



“จีนยุคใหม่หลังการสถาปนาประเทศ 60 ปี” วิวัฒนาการของประเทศจีนในด้านความเป็น อยู่ของประชาชนที่ชัดเจนขึ้น หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจจีนไปแล้ว