ใบความรู้วิชาระบบบัญชี

ใบความรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้

การควบคุมภายในเพื่อให้มีประสิทธิภาพ

1. กำหนดเป้าหมายและนโยบายการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนและวัดผลได้ ให้มีการทบทวนว่าการตั้งเป้าหมายได้ดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

2. จัดทำโครงสร้างองค์กร และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจน เพื่อเป็นการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ที่อาจจะเอื้อให้เกิดการกระทำที่ทุจริต

3. จัดทำคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งประกอบด้วยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ระเบียบ ปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณของกรรมการและพนักงาน ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมทางธุรกิจหลักการในการถือปฏิบัติของกรรมการและพนักงานในเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อให้กรรมการและพนักงานทุกคนถือปฏิบัติและมีบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืน เช่น การพิจารณาลงโทษทางวินัยที่รวมถึงการเลิกจ้าง การชดเชยความเสียหาย และโทษทางแพ่งหรือทางอาญา

4. จัดทำโครงสร้างองค์การ โดยแบ่งเป็นฝ่ายงานต่าง ๆ เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน ประกอบกับจัดให้มีการทำคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ในแต่ละตำแหน่งและคู่มือการปฏิบัติงาน (Company Manual) เพื่อเป็นเครื่องมือให้พนักงานในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ

5. จัดให้มีการกำหนดอำนาจและระดับการอนุมัติอย่างชัดเจน

6. จัดให้มีระบบการสื่อสารข้อมูลเพื่อไปสู่ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสะดวกรวดเร็วในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

7. จัดให้มีฝ่ายตรวจสอบ เพื่อติดตามและตรวจสอบภายในร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่วางไว้ และเป็นไปตามระบบการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และให้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง จนได้ระบบควบคุมภายในที่ดีและทันสมัย ระบบบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลกิจการที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
 
 
ใบความรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้

รหัสบัญชี

รหัสบัญชีที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้

ทำให้การจัดลำดับบัญชีสะดวกขึ้น 2. ประหยัดเวลาในการเขียนชื่อบัญชี

3. สะดวกและง่ายต้องการจดจำ 4. ช่วยจำแนกประเภทบัญชี

5. เพิ่มหรือลดจำนวนบัญชีได้ตามความต้องการ

ประเภทของรหัสบัญชี

แบบตัวเลขหรือตัวอักษรเรียงตามลำดับ เช่น

1 บัญชีเงินสด 2 บัญชีเงินฝาก

3 บัญชีลูกหนี้ 4 บัญชีเจ้าหนี้

หรือใช้ตัวอักษรเรียงไปตามลำดับ

A บัญชีเงินสด B บัญชีลูกหนี้ C บัญชีเจ้าหนี้

วิธีนี้จะสะดวกและเหมาะกับกิจการที่มีบัญชีแยกประเภทจำนวนไม่มาก

แบบตัวเลขผสมตัวอักษร

ก - 101 บัญชีเงินสด ก - 102 บัญชีเงินฝากธนาคาร

ข - 101 บัญชีเจ้าหนี้

3. แบบหมวดหมู่

100 เป็นหมวดสินทรัพย์ 200 เป็นหมวดหนี้สิน

300 เป็นหมวดส่วนของเจ้าของ 400 เป็นหมวดของรายได้

500 เป็นหมวดของค่าใช้จ่าย

รหัสแบบนี้นิยมใช้กับรหัสของสินค้าโดยเฉพาะในธุรกิจขนาดใหญ่

4. การใช้รหัสแบบเป็นช่วงเป็นตอน

100-199 เป็นรหัสบัญชีประเภทสินทรัพย์

200-299 เป็นรหัสบัญชีประเภทหนี้สิน

300-399 เป็นรหัสบัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ

รหัสแบบนี้นิยมใช้กับแยกประเภททั่วไปมากที่สุด

5. การใช้รหัสเป็นจุดทศนิยม

1. เป็นบัญชีสินทรัพย์ 1.01 เงินสด

1.01.01 เงินสดที่สำนักงานใหญ่ 1.02 เงินฝากธนาคาร

รหัสแบบนี้นิยมใช้เป็นรหัสหนังสือในห้องสมุด

 
ใบความรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้

ขั้นตอนของการวางระบบบัญชีวางแผนการสำรวจและวิเคราะห์

      ก. ผังองค์การ นโยบายของบริษัท จะต้องทราบถึงการบริหารงานภายในองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับพนักงาน หัวหน้า ผู้จัดการ ผู้อำนวยการหรือกรรมการของกิจการ อีกทั้งควรทราบนโยบายการบริหารงานอำนาจการอนุมัติ

      ข. รายละเอียดของสินค้า/บริการ การสำรวจข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป หรือการให้การบริการแก่ลูกค้า การตั้งราคา การกำหนดต้นทุน การคำนวณหาสินค้าคงเหลือของกิจการ

      ค. แยกประเภทของงานบัญชี การเงิน งบการเงิน กำหนดรูปแบบงานบัญชีตามประเภทของการดำเนินงาน แนวทางการจัดทำรายการต่างๆ เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร การจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม

      ง. ผังแสดงการเดินทางของข้อมูล เอกสาร พิจารณาดูการเดินทางของเอกสารต่างๆ ว่ามีการเดินทางไปแหล่งที่เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่เริ่มออกเอกสารจนสิ้นสุดกระบวนการไม่ว่จะเป็น ใบส่งของ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือการออกเอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

      จ. รายละเอียดของการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินงาน การใช้ทรัพย์สิน การจัดซื้อหรือการคิดค่าเสื่อมราคา

      ฉ. ข้อมูลทางการตลาด การขาย การประชาสัมพันธ์ การวางแผนการตลาด การกำหนดขั้นตอนในการจำหน่าย การจ่ายค่านายหน้า หรือค่าใช้จ่ายของพนักงานขาย แนวทางการประชาสัมพันธ์

      ช. รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืมเงิน การตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย วันครบกำหนด การชำระดอกเบี้ยหรือคืนเงินต้น วงเงินกู้ หรือเบิกเงินเกินบัญชี

การออกแบบและกำหนดระบบของบัญชี

      ก. ผังบัญชี และรหัสบัญชี ผังบัญชีและรหัสบัญชีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้จัดทำบัญชีสะดวกง่ายต่อการพิจารณา รายการค้าให้ถูกต้องและรัดกุมยิ่งขึ้น หากสมารถทำคำอธิบายชื่อบัญชีในแต่ละบัญชีได้ ก็จะทำให้ผู้จัดทำบัญชีดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

      ข. สมุดบัญชีต่างๆ ที่ใช้ในการบันทึกบัญชี การกำหนดรูปแบบของสมุดบัญชีต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายบัญชี ส่วนรูปร่างหน้าตาของสมุดบัญชี ในทางปฏิบัติมักจะนิยมใช้สมุดบัญชีรายวันให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจสอบ และควบคุมภายในได้เป็นอย่างดี

      ค. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การออกแบบใบสำคัญจ่าย-รับเงิน เพื่อช่วยในการบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจสอบ และควบคุมภายในได้เป็นอย่างดี

      ง. การจัดทำรายงาน การออกแบบรายงานเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ การพิจารณาหรือการนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหาร

      จ. การรองรับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอื่นๆ ในกรณีที่กิจการต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออยู่นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องพิจารณาถึงเอกสารใบกำกับภาษี รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

การวางแผนการนำออกมาใช้

      ก. ทดลองการใช้เอกสาร เส้นทางการเดินของเอกสาร เมื่อได้ออกแบบและกำหนด แนวทางเดินของเอกสารขึ้นมาเรียบร้อยแล้วก็จะเป็นการนำ รูปแบบของเอกสารต่างๆ ออกมาใช้เพื่อพิจารณาดูการเดินของเอกสารว่ามีปัญหาในจุดหรือแหล่งใด หรือผู้ปฏิบัติได้เขียนหรือใช้เอกสารได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่

      ข. การลงรายการต่างๆ ในสมุดบัญชี หรือคอมพิวเตอร์ การนำเอกสารรายการค้าบันทึกในสมุดบัญชีหรือคอมพิวเตอร์จะต้องจัดเตรียมข้อมูล เอกสารเพื่อบันทึกลงในสมุดบัญชีต่างๆ ได้ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอย่างไร

      ค. การทดลองรายงาน การออกแบบรายงานแล้วนำออกมาใช้มักจะพบปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ รายงานที่นำออกมาใช้ยังไม่สามารถให้ข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้บริหาร ดังนั้น เมื่อมีการทดลองออกรายงานทางการเงิน ผุ้ออกแบบจะต้องให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแนะนำหรือระบุความต้องการเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำรายงานออกไปใช้ให้เกิดประโยชน์

การติดตามผลและปรับปรุงแก้ไขระบบบัญชี

      ก. การลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป ขั้นตอนในการออกเอกสาร การอนุมัติ การเบิก จ่ายเงินการบันทึกรายการบัญชี หากพบว่าขั้นตอนใดซ้ำซ้อน หรือไม่มีความจำเป็นทำให้เกิด ความยุ่งยากเสียเวลาก็ให้ตัดรายการ หรือขั้นตอนนั้นออกไป

      ข. ผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบบัญชีมักจะมีผลกระทบต่อการทำงานในระยะเริ่มต้น ผู้ปฏิบัติยังไม่เคยชิน จะต้องอธิบายให้เกิดความเข้าใจว่าจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งจึงจะไม่ล่าช้าหรือเสียเวลา

 
ใบความรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้

การซื้อกระทำโดย

1 แผนกจัดซื้อหรือพนักงานจัดซื้อตามใบเสนอซื้อที่ได้รับอนุมัติแล้ว

2 การจัดซื้อแต่ละครั้ง แผนกผลิตและคลังเป็นผู้เสนอแนะเกี่ยวกับชนิดและ ปริมาณของสินค้าที่จะซื้อ

3 สั่งซื้อจากรายการราคาขายของผู้ขายที่ได้รับการอนุมัติ

1. มีการเปรียบเทียบราคาจากผู้ขายหลายแห่ง เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด

4 ใบสั่งซื้อทำขึ้นโดย

1. เรียงลำดับหมายเลขไว้ล่วงหน้า

2. มีการอนุมัติการสั่งซื้อ



5 สำเนาใบสั่งซื้อได้ส่งไปยัง

1. แผนกบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำใบสำคัญสั่งจ่าย

2. แผนกรับของหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจรับของ

6 ใบรับของแสดงจำนวนที่นับได้จริง พร้อมทั้งลายเซ็นผู้ตรวจรับอย่างน้อย 2 คน

7 ในใบรับของได้ระบุถึงเงื่อนไขต่างๆ ในกรณีที่จะต้องมีการทดสอบคุณภาพใน

ภายหลัง

8 ของที่มีคุณภาพพิเศษ จะต้องมีรายงานการตรวจสอบจากผู้ที่มีความชำนาญใน

เรื่องนั้นโดยเฉพาะ

9 ใบรับของที่มีเลขที่เรียงลำดับและมีสำเนาส่งให้

1. แผนกบัญชี เพื่อเก็บไว้กับใบสั่งซื้อ

2. แผนกจัดซื้อ เพื่อติดตามรายการที่สั่งซื้อแล้ว แต่ยังไม่ได้รับของ

3. แผนกคลังสินค้า เพื่อบันทึกบัญชีพัสดุคงเหลือ

4. เก็บไว้ที่แผนกรับของ หรือเจ้าหน้าที่ผู้กระทำการตรวจรับของ
 
 
 
ใบความรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้

วิธีปฏิบัติระบบการขายโดยรับชำระด้วยบัตรเครดิต

ปัจจุบันการขายสินค้าโดยใช้บัตรเครดิตเป็นเป็นที่นิยมแพร่หลาย ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมของร้านค้าทั่วไปแม้ว่าจะต้องเสียส่วนลดให้ธนาคาร แต่ทางร้านจะสามารถขายสินค้าได้มากขึ้นวิธีการขายเชื่อมีรูปแบบคล้ายกับการขายสด ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

1. พนักงานขายออกบิลขาย 3 ฉบับ และลูกค้าแสดงบัตรเครดิต (Credit Card)

2. พนักงานรับเงินตรวจสอบบัตรเครดิต วงเงินการใช้บัตร บัตรถูกยกเลิกหรือไม่หากเห็นว่าบัตรถูกต้อง จึงให้ลูกค้าเซ็นชื่อพร้อมทั้งตรวจสอบลายเซ็นให้ถูกต้องตรงกัน

3. หลังจากนั้นส่งบิลให้ลูกค้าไปรับสินค้า สิ้นวันพนักงานรับเงินจัดทำรายงานรับเงินค่าขายประจำวันโดยแยกรายการค่าขายเงินสดและค่าขายเชื่อ

4. นำส่งหัวหน้าแผนกรับเงิน แผนกรับเงินตรวจสอบม้วนเทปในเครื่องบันทึกเงินสด ส่วนบิลขายเชื่อส่งแผนกออกบิลเรียกเก็บเงินจากลูกค้า

วิธีปฏิบัติระบบการขายผ่อนส่ง

ระบบการขายผ่อนส่งเหมาะกับสินค้าที่มีราคาแพง เพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างจากการขายเชื่อเพียงแต่บัญชีลูกหนี้รายตัวจะต้องออกแบบบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระที่ทำให้ทราบทันทีว่าลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอีกจำนวนกี่งวด เป็นเงินเท่าใด

วิธีการปฏิบัติระบบการขายเชื่อ

ระบบการขายเชื่อมีแผนกที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. แผนกขาย

2. แผนกสินเชื่อ

3. แผนกคลังสินค้า

4. แผนกจัดส่งสินค้า

5. แผนกออกบิล

 
 
การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง

1. การบันทึกประวัติของพนักงาน ได้กระทำโดยพนักงานที่มิได้ทำหน้าที่จ่ายเงิน ประวัติที่

บันทึกเกี่ยวกับ

1.1 การว่าจ้างเริ่มเมื่อใด และสิ้นสุดเมื่อใด

1.2 อัตราการว่าจ้าง

1.3 การขาดงาน วันหยุด ป่วย ลากิจ

1.4 ลายเซ็นพนักงาน



2. ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำสมุดจ่ายเงินเดือน และค่าแรงจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับ

2.1 การตกลงว่าจ้าง

2.2 อนุมัติอัตราว่าจ้าง

2.3 การบันทึกเวลา

2.4 การบันทึกต้นทุน

2.5 การจ่ายเงิน

3. มีการตรวจสอบเวลาการทำงานของพนักงาน

4. เงินเดือนและค่าแรงมีการกระจายไปให้งานต่างๆ แต่ละงาน หรือแผนกต่างๆ แต่ละแผนก

5. รายละเอียดค่าแรงและเงินเดือน ได้มีการอนุมัติโดยแผนกบุคคลและผู้จัดการของแต่ละฝ่าย

ก่อนจะนำมาเขียนเช็คสั่งจ่าย

6. ทุกรายการในสมุดจ่ายเงินเดือนและค่าแรง ต้องเขียนด้วยหมึกและตัวเลขชัดเจน

7. เช็คที่เบิกจะต้องแสดงรายละเอียดจำนวนเงินสุทธิที่จะจ่ายให้พนักงาน

8. จะต้องมีการตรวจรายการเงินเดือนและค่าแรงเป็นประจำ โดยบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ทำบัญชี

เงินเดือนและค่าแรงและผู้จ่ายเงิน

9. จะต้องมีการอนุมัติโดยคณะกรรมการของบริษัทหรือเจ้าของกิจการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

อัตราการจ่ายเงิน

10. การเตรียมเช็คเพื่อจ่าย

10.1 ทำโดยแผนกการเงิน และทำตามใบสำคัญสั่งจ่ายที่มีการอนุมัติแล้ว

10.2 เงินจะต้องเก็บเข้าซองไว้ และมีใบปะหน้าซองบอกจำนวนเงินและชื่อผู้รับไว้หน้า ซอง หากจ่ายโดยการโอนอัตโนมัติผ่านระบบธนาคารจะต้องตรวจสอบชื่อและเลขที่บัญชีของพนักงานแต่ละคนให้ถูกต้องตรงกัน

 
ใบความรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้

สินค้าคงเหลือ

1. พนักงานบัญชีควรทำบันทึกเกี่ยวกับของคงเหลือ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษา เนื่องจากการ

เก็บรักษาของคงเหลือควรเป็นหน้าที่ของพนักงานแผนกคลังสินค้า

2. ควรมีการตรวจนับของคงเหลือโดยบุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาพัสดุเป็นครั้ง

คราว ในกรณีที่ใช้ระบบสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System) จะทำการ

ตรวจสอบว่าจำนวนที่ตรวจนับได้ตรงกับบันทึกของแผนกบัญชีหรือไม่

3. วิธีการตรวจนับของคงเหลือที่ถือปฏิบัติโดยทั่วไป ได้แก่

- จัดสินค้าหรือของประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน

- ใช้บัตรตรวจนับสินค้าที่จัดพิมพ์ไว้โดยมีเลขที่

- ให้มีพนักงานตรวจนับสองคน โดยคนหนึ่งเป็นผู้นับ อีกคนหนึ่งเป็นผู้จดบันทึก

4. การปรับปรุงยอดของคงเหลือตามบัญชีให้ตรงกับจำนวนที่ตรวจนับจริงจะต้องผ่านการอนุมัติ

ของผู้ที่มีอำนาจตามที่บริษัทได้กำหนดไว้

5. ควรทำการตรวจสอบหาสาเหตุที่ของขาด หรือเกินจากบัญชี และกำหนดวิธีการแก้ไขเพื่อมิให้

เกิดขึ้นอีก

6. การควบคุมอื่น ๆ เกี่ยวกับของคงเหลือ ต้องมีการควบคุมการจัดเก็บและการเบิกใช้ที่ดีได้แก่

- ต้องมีการเก็บรักษาในที่ที่เหมาะสม เช่น อาหารสด และไวน์ควรจะเก็บในอุณหภูมิที่พอเหมาะ

- ของที่มีราคาแพงควรมีการตรวจนับ และรายงานจำนวนที่ใช้ไปทุกวัน

- ควรจำกัดการเข้าออกของคลังสินค้า และคลังพัสดุ

- พนักงานที่เกี่ยวข้องกับของคงเหลือควรเข้าออกจากบริษัทโดยทางออกที่กำหนดไว้เพื่อให้

ตรวจสอบได้

- ต้องมีการบันทึกของที่เสียและใช้ไม่ได้เพื่อตัดบัญชีโดยผ่านการอนุมัติของผู้มีอำนาจ

- ปกติพนักงานคลังสินค้าจะเป็นผู้ทำบัตรประจำภาชนะสินค้า (Bin Card) สำหรับสินค้าทุก

รายการที่มีและบันทึกทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายของ ทุกสิ้นเดือนจะทำการตรวจนับว่ามีสินค้า

เหลืออยู่เท่าใด ตรงกับจำนวนในบัตรประจำภาชนะหรือไม่ และตรงกับบัตรสินค้า (Stock

Card) ที่แผนกบัญชีเป็นผู้จัดทำหรือไม่

- ต้องนำสินค้าที่หมดอายุก่อนเบิกมาใช้จ่าย ใช้วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)

รายการที่ถือเป็นสินค้าคงเหลือ

1. สินค้าระหว่างทาง (goods in transit)

1.1 ถ้าใช้เงื่อนไข F.O.B. destination กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของผู้ขาย

1.2 ถ้าใช้เงื่อนไข F.O.B shipping point กรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของผู้ซื้อ

2. สินค้าฝากขาย (goods on consignment) กรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของผู้ฝากขาย

3. สินค้าที่แยกไว้ต่างหาก (segregated goods) กรรมสิทธิ์ในสินค้านี้เป็นของผู้ซื้อ

4. สินค้าที่ขายโดยมีเงื่อนไข และสินค้าที่ขายตามสัญญาผ่อนชำระ (conditional and installment) กรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของผู้ซื้อ

การวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ

1. ต้นทุนในการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ

หมายถึง ราคาซื้อสินค้า / วัตถุดิบตามใบกำกับสินค้าที่ผู้ขายมอบให้พร้อมสินค้าหรือ

วัตถุดิบ

2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ

ประกอบด้วย อากรขาเข้า ภาษีขาเข้า ค่าขนส่ง ค่าขนถ่าย การประกันภัย เป็นต้น

3. ส่วนลดต่าง ๆ

เช่น ส่วนลดการค้า ส่วนลดเงินสด หรือเงินที่ได้รับจากการส่งคืนและส่วนลด ให้

นำไปหักออกจากการกำหนดมูลค่าของต้นทุนในการซื้อ

4. ต้นทุนแปลงสภาพ

ประกอบด้วย ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิตคงที่และผันแปร

5. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

เช่น ค่าใช้จ่ายในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษางานระหว่างทำ

เพื่อนำไปผลิตต่อ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นต้นทุนของสินค้าคงเหลือเช่นกัน